ปลาแรด
ปลาแรด
ปลาแรด (Gaint goramy) เป็นปลาน้ำจืดที่นิยมรับประทาน เนื่องจาก ลำตัวมีขนาดใหญ่ เนื้อมาก เลี้ยงง่าย กินอาหารได้ทุกชนิด มีความต้องการทางตลาดสูง โดยเฉพาะตามร้านอาหารทั่วไป นอกจากนั้น บางรายยังนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
อนุกรมวิธาน
• Phylum : Chordata
• Class : Osteichthyes
• Order : Perciformes
• Family : Anabantidae
• Genus : Osphronemus
• Species : Goramy
• Phylum : Chordata
• Class : Osteichthyes
• Order : Perciformes
• Family : Anabantidae
• Genus : Osphronemus
• Species : Goramy
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osphronemus goramy Lacepede
• ชื่อสามัญ : Gaint goramy
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– ปลาแรด
ภาคใต้
– ปลามิน
ภาคอีสาน
– ปลาเม่น
• ต่างประเทศ
– อินโดนีเซีย เรียก Gurami หรือ Guremeh
– อินเดีย เรียก Sangara
– เวียดนาม เรียก Ca Tai Tuong
– มาเลเซีย เรียก Kalu
– กัมพูชา เรียก Trey remeas
• ชื่อสามัญ : Gaint goramy
• ชื่อท้องถิ่น :
ภาคกลาง และทั่วไป
– ปลาแรด
ภาคใต้
– ปลามิน
ภาคอีสาน
– ปลาเม่น
• ต่างประเทศ
– อินโดนีเซีย เรียก Gurami หรือ Guremeh
– อินเดีย เรียก Sangara
– เวียดนาม เรียก Ca Tai Tuong
– มาเลเซีย เรียก Kalu
– กัมพูชา เรียก Trey remeas
ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจายปลาแรดมีถิ่นกำเนิดในเอเชีย บริเวณเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว ซึ่งมีการขุดพบหลักฐานซากฟอสซิลของปลาแรดชนิด O. goramy บนเกาะสุมาตรา ทำให้ยืนยันได้ว่าบริเวณหมู่เกาะแถบนี้เป็นต้นกำเนิดของปลาแรด
ปัจจุบัน พบแพร่กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลลิปปินส์ และไทย รวมถึงประเทศอินเดีย
ส่วนประเทศไทยพบปลาแรดมาตั้งแต่นานแล้ว ซึ่งยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นปลาท้องถิ่นดั้งเดิมหรือเป็นปลาที่นำเข้ามาเลี้ยงแต่อย่างใด และปลาแรดในไทยเองก็สามารถเติบโต และปรับตัวกับทุกแหล่งน้ำได้ดี ซึ่งพบได้ทั่วไปตามแม่น้ำสายหลัก และสายย่อย อ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆในทุกภาค ซึ่งพบแพร่กระจายมากในเขตภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี ปทุมธานี นครปฐม และ ชัยนาท
ลักษณะทั่วไป
ปลาแรด มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาสลิดหรือปลาหมอตาล ลำตัวมีลักษณะแบนใหญ่ มีความยาวจากหัวถึงหางเป็น 2 เท่า ของความกว้างลำตัว (สันหลังถึงท้อง หรือเรียกว่า แนวลึก) ซึ่งเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวได้มากกว่า 30-45 เซนติเมตร และอาจพบยาวได้มากถึง 50-60 เซนติเมตร มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก มีจะงอยปากแหลม โดยมีขากรรไกรล่างยื่นยาวมากกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย บนขากรรไกรภายในปากมีฟันซี่เล็ก
ปลาแรด มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาสลิดหรือปลาหมอตาล ลำตัวมีลักษณะแบนใหญ่ มีความยาวจากหัวถึงหางเป็น 2 เท่า ของความกว้างลำตัว (สันหลังถึงท้อง หรือเรียกว่า แนวลึก) ซึ่งเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวได้มากกว่า 30-45 เซนติเมตร และอาจพบยาวได้มากถึง 50-60 เซนติเมตร มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก มีจะงอยปากแหลม โดยมีขากรรไกรล่างยื่นยาวมากกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย บนขากรรไกรภายในปากมีฟันซี่เล็ก
ส่วนครีบประกอบด้วยครีบหลังที่มีก้านครีบแข็ง 12-16 อัน และก้านครีบอ่อน17-18 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-12 ก้าน ก้านครีบอ่อน 16-23 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบอ่อน 13-16 อัน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน และก้านครีบอ่อน 5 อัน โดยก้านครีบอ่อนอันแรกของก้านครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว และยาวถึงครีบหางก็ได้ ส่วนรูก้นจะอยู่ใต้ก้านครีบท้อง ส่วนครีบหางมีก้านครีบอ่อน 21-23 อัน มีลักษณะเป็นรูปพัดกลม
ปลาแรดที่มีอายุน้อยจะมีเกล็ดสีน้ำตาลอมชมพู มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 8-10 แถบ โดยเฉพาะปลาแรดวัยอ่อนที่มีแถบพาดขวางได้มากถึง 10 แถบ นอกจากนั้น ยังพบโคนครีบหางมีจุดสีดำ ส่วนปลาแรดที่โตเต็มที่จะมีเกล็ดที่เป็นสีเส้นข้างลำตัว 28-33 เกล็ด ซึ่งจะพบได้ในปลาที่โตเต็มที่แล้ว ซึ่งเส้นข้างลำตัวจะมีสีน้ำตาลดำหรือน้ำตาลเข้ม และจุดที่ดำที่ครีบหางจะหายไป
อุปนิสัยปลาแรด
ปลาแรด เป็นปลาที่ชอบน้ำนิ่ง และชอบอาศัยตามบริเวณน้ำตื้นริมขอบฝั่ง ส่วนอาหารกินอาหารได้ทุกชนิด ทั้งพืช สัตว์น้ำ ตัวอ่อนแมลง และแมลง แต่ทั้งนี้ เมื่อโตเต็มวัยจะชอบกินพืชมากกว่า ทั้งนี้ ปลาแรดจับคู่กันอาศัยตามขอบฝั่งโดดๆ ไม่ชอบอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม
ปลาแรด เป็นปลาที่ชอบน้ำนิ่ง และชอบอาศัยตามบริเวณน้ำตื้นริมขอบฝั่ง ส่วนอาหารกินอาหารได้ทุกชนิด ทั้งพืช สัตว์น้ำ ตัวอ่อนแมลง และแมลง แต่ทั้งนี้ เมื่อโตเต็มวัยจะชอบกินพืชมากกว่า ทั้งนี้ ปลาแรดจับคู่กันอาศัยตามขอบฝั่งโดดๆ ไม่ชอบอาศัยรวมกันเป็นกลุ่ม
ตามธรรมชาติหรือเลี้ยงในบ่อ ปลาแรดจะเป็นปลาที่ไม่มีนิสัยดุร้าย แต่หวงถิ่นอาศัยเมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ และวางไข่ และจะดุร้าย เมื่อไข่ฟักเป็นลูกปลาแล้ว
การสืบพันธุ์ และวางไข่
ปลาแรดจะเริ่มเข้าสู่วัยผสมพันธุ์ และวางไข่ได้เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม และยาวประมาณ 35-40 เซนติเมตร โดยตัวผู้จะมีส่วนหัวมีโหนกสีแดง คล้ายนอแรดขึ้น มีโคนครีบอกบริเวณหลังกระพุ้งแก้มจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีหน้าผากเรียบ ไม่มีโหนก มีส่วนท้องอูมเป่งมากกว่าตัวผู้ และโคนครีบอกบริเวณหลังกระพุ้งแก้มจะมีสีดำ ทั้งนี้ ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
ปลาแรดจะเริ่มเข้าสู่วัยผสมพันธุ์ และวางไข่ได้เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม และยาวประมาณ 35-40 เซนติเมตร โดยตัวผู้จะมีส่วนหัวมีโหนกสีแดง คล้ายนอแรดขึ้น มีโคนครีบอกบริเวณหลังกระพุ้งแก้มจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีหน้าผากเรียบ ไม่มีโหนก มีส่วนท้องอูมเป่งมากกว่าตัวผู้ และโคนครีบอกบริเวณหลังกระพุ้งแก้มจะมีสีดำ ทั้งนี้ ปลาแรดที่มีอายุเท่ากัน ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งจะเริ่มต้นในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงตลอดฤดูฝน และสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี รวมถึงฤดูแล้งด้วย โดยตัวผู้จะหาแหล่งสร้างรังบริเวณน้ำตื้นหรือริมขอบฝั่ง โดยการตีหน้าดินให้เป็นหลุมทรงกลมตื้นๆ พร้อมต้อนตัวเมียเข้าใกล้รัง ก่อนตัวเมียจะวางไข่ในหลุม และตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม หลังจากนั้น ตัวผู้จะคาบเศษหญ้ามาคลุมทับรังไว้ โดยบริเวณผิวน้ำเหนือรังจะมีจุดน้ำมันลอยให้เห็น
นอกจากนี้ มีบางตำรากล่าวว่า ปลาแรดตัวผู้จะทำหน้าที่สร้างรังก่อน หลังจากนั้น ตัวเมียจะเข้ามาช่วยกันสร้างรัง ซึ่งใช้เวลาสร้างรังประมาณ 4-7 วัน โดยรังที่สร้างจะเป็นรากหญ้า กอหญ้าหรือพรรณไม้น้ำบริเวณใกล้ๆกับรัง รังวางไข่จะมีลักษณะคล้ายกับรังนก ขนาดรังประมาณ 30-40 เซนติเมตร และหลังจากสร้างรังเสร็จ ปลาแรดตัวเมียจะวางไข่ และตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมภายในรัง และเมื่อวางไข่ และผสมน้ำเชื้อเสร็จแล้ว ปลาแรดตัวผู้จะไล่ตัวเมียให้ออกห่างจากรัง แล้วตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่ปลาต่อ
การวางไข่แต่ละครั้ง ตัวเมียจะวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 500-4ม000 ฟอง และสามารถวางไข่ได้สูงถึง 18,000 ฟอง/ครั้ง ขึ้นอยู่กับอายุ และขนาดลำตัว โดยตัวเมียที่เริ่มวางไข่ในปีแรกจะวางไข่เพียงครั้งเดียว ส่วนในปีที่ 2 จะวางไข่ 3-4 ครั้ง/ปี และปีที่ 3 วางไข่ได้ 4-5 ครั้ง/ปี
ไข่มีลักษณะทรงกลม สีเหลือง เมื่อผสมน้ำเชื้อแล้วจะมีสีเหลืองเข้ม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร และจะฟักออกเป็นตัวภายใน 25-36 ชั่วโมง โดยหลังฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ลูกปลาแรดจะหงายท้องลอยตามผิวน้ำ แล้วค่อยๆว่ายน้ำลงใต้น้ำ และจะเริ่มกินอาหารหลังจากฟักออกจากไข่แล้ว 5-8 วัน
การเลี้ยงปลาแรด
การเลี้ยงปลาแรดส่วนมากนิยมเลี้ยงในกระชังเป็นหลัก แต่สามารถเลี้ยงในบ่อดินที่ให้ผลผลิตสูงได้เช่นกัน ทั้งนี้ การเลี้ยงในบ่อดินไม่ควรใช้บ่อที่ลึกมากกว่า 1.5 เมตร โดยใช้ความลึกบ่อประมาณ 1-1.5 เมตร เท่านั้น นอกจากการเลี้ยงปลาแรดเพื่อจำหน่ายหรือรับประทานแล้ว บางคนยังนิยมนำปลาแรดมาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงามด้วย
การเลี้ยงปลาแรดส่วนมากนิยมเลี้ยงในกระชังเป็นหลัก แต่สามารถเลี้ยงในบ่อดินที่ให้ผลผลิตสูงได้เช่นกัน ทั้งนี้ การเลี้ยงในบ่อดินไม่ควรใช้บ่อที่ลึกมากกว่า 1.5 เมตร โดยใช้ความลึกบ่อประมาณ 1-1.5 เมตร เท่านั้น นอกจากการเลี้ยงปลาแรดเพื่อจำหน่ายหรือรับประทานแล้ว บางคนยังนิยมนำปลาแรดมาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงามด้วย
การอนุบาล
ลูกปลาแรดหลังจากฟักออกจากไข่แล้ว 5-8 วัน จึงจะเริ่มกินอาหาร เพราะระยะนี้จะอาศัยถุงไข่แดงสำหรับเติบโตอยู่ และประมาณวันที่ 8-10 ถุงไข่แดงจะยุบหมด ซึ่งจะมีขนาดลำตัวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ลำตัวระยะนี้จะมีหัว และท้องใหญ่ เรียวยาวลงปลายหาง คล้ายกับลูกอ๊อด
ลูกปลาแรดหลังจากฟักออกจากไข่แล้ว 5-8 วัน จึงจะเริ่มกินอาหาร เพราะระยะนี้จะอาศัยถุงไข่แดงสำหรับเติบโตอยู่ และประมาณวันที่ 8-10 ถุงไข่แดงจะยุบหมด ซึ่งจะมีขนาดลำตัวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ลำตัวระยะนี้จะมีหัว และท้องใหญ่ เรียวยาวลงปลายหาง คล้ายกับลูกอ๊อด
การให้อาหารแบ่งตามระยะ ดังนี้
1. การให้อาหารจะเริ่มให้ประมาณวันที่ 5-8 วัน หลังจากการฟักเป็นตัว หรือให้สังเกตถุงไข่แดงที่ยุบตัวลงแล้ว ในระยะนี้จนถึง 2 อาทิตย์ จะให้อาหารจำพวกไข่ต้มบดละเอียด ร่วมกับไรแดงหรืออาร์ทิเมีย
2. ระยะอายุ 0.5-1 เดือน หลังการฟัก จะให้อาหารจำพวกไรแดงเป็นหลัก
3. ระยะอายุ 1-2 เดือน จะให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากินสัตว์ เช่น อาหารปลาดุกขนาดเม็ดเล็ก พร้อมเสริมด้วยไรแดง หนอน รวมถึงเศษผัก
1. การให้อาหารจะเริ่มให้ประมาณวันที่ 5-8 วัน หลังจากการฟักเป็นตัว หรือให้สังเกตถุงไข่แดงที่ยุบตัวลงแล้ว ในระยะนี้จนถึง 2 อาทิตย์ จะให้อาหารจำพวกไข่ต้มบดละเอียด ร่วมกับไรแดงหรืออาร์ทิเมีย
2. ระยะอายุ 0.5-1 เดือน หลังการฟัก จะให้อาหารจำพวกไรแดงเป็นหลัก
3. ระยะอายุ 1-2 เดือน จะให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากินสัตว์ เช่น อาหารปลาดุกขนาดเม็ดเล็ก พร้อมเสริมด้วยไรแดง หนอน รวมถึงเศษผัก
หลังจากอนุบาลประมาณ 2 เดือนแล้ว จะมีลำตัวยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ก็สามารถจับปล่อยเลี้ยงในกระชังหรือบ่อดินได้
อัตราการปล่อย
– การเลี้ยงในกระชัง ในระยะ 2 เดือนแรก ปล่อยประมาณ 100-150 ตัว/ตารางเมตร และระยะที่2 อายุ 2เดือนขึ้นไป ให้จับแยกปล่อยประมาณ 15-20 ตัว/ตารางเมตร
– การเลี้ยงในบ่อดิน ปล่อยประมาณ 10-15 ตัว/ตารางเมตร
– การเลี้ยงในกระชัง ในระยะ 2 เดือนแรก ปล่อยประมาณ 100-150 ตัว/ตารางเมตร และระยะที่2 อายุ 2เดือนขึ้นไป ให้จับแยกปล่อยประมาณ 15-20 ตัว/ตารางเมตร
– การเลี้ยงในบ่อดิน ปล่อยประมาณ 10-15 ตัว/ตารางเมตร
การให้อาหารปลารุ่น
ปลาแรดที่มีขนาดเล็กจะกินอาหารได้ทุกชนิด แต่เมื่อโตมากแล้วจะกินพืชเป็นหลัก ซึ่งหลังจากอนุบาลจนได้ปลารุ่นแล้วจะแบ่งระยะการให้อาหาร ดังนี้
– ปลารุ่นอายุ 2-3 เดือน เน้นการให้อาหารสำเร็จรูป ร่วมกับเศษผัก และอาหารที่เป็นหนอนหรือสัตว์ขนาดเล็กที่หาได้ในท้องถิ่น
– ปลารุ่นอายุ 4-5 เดือน เน้นการให้อาหารสำเร็จรูป ร่วมกับเศษผัก
– ปลารุ่นอายุ 6-10 เดือน จะให้อาหารจำพวกพืชเป็นหลัก อาทิ ผักบุ้ง แหน เศษผักต่างๆ เช่น ใบผักกาด ผักคะน้า เป็นต้น รวมถึงรำข้าวหรือเศษอาหาร ร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริม วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น
ปลาแรดที่มีขนาดเล็กจะกินอาหารได้ทุกชนิด แต่เมื่อโตมากแล้วจะกินพืชเป็นหลัก ซึ่งหลังจากอนุบาลจนได้ปลารุ่นแล้วจะแบ่งระยะการให้อาหาร ดังนี้
– ปลารุ่นอายุ 2-3 เดือน เน้นการให้อาหารสำเร็จรูป ร่วมกับเศษผัก และอาหารที่เป็นหนอนหรือสัตว์ขนาดเล็กที่หาได้ในท้องถิ่น
– ปลารุ่นอายุ 4-5 เดือน เน้นการให้อาหารสำเร็จรูป ร่วมกับเศษผัก
– ปลารุ่นอายุ 6-10 เดือน จะให้อาหารจำพวกพืชเป็นหลัก อาทิ ผักบุ้ง แหน เศษผักต่างๆ เช่น ใบผักกาด ผักคะน้า เป็นต้น รวมถึงรำข้าวหรือเศษอาหาร ร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริม วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น
การเก็บผลผลิต
ปลาแรดเมื่อเลี้ยงได้อายุ 8-10 เดือน สามารถจับส่งตลาดได้ ซึ่งจะมีขนาดะม
ปลาแรดเมื่อเลี้ยงได้อายุ 8-10 เดือน สามารถจับส่งตลาดได้ ซึ่งจะมีขนาดะม
ที่มาhttp://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%94/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น