ปลาไหล
ปลาไหล
ปลาไหล หรือ ปลาไหลนา (Swamp eel) จัดเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทานมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้ชาย เนื่องจากมีเนื้อแน่น เนื้ออร่อย และเป็นที่หายาก โดยมีเมนูที่นิยม ได้แก่ ต้มปลาไหลหรือเรียกต้มเปรต และผัดเผ็ดปลาไหล เป็นต้น
advertisement
|
ปัจจุบัน ปลาไหลนาเริ่มมีการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายมากขึ้น 1 กิโลกรัม จะมีราคาประมาณ 100-250 บาท เลยทีเดียว ทั้งนี้ ปลาไหลนาจากบ่อเลี้ยงกับปลาไหลนาที่จับได้จากธรรมชาติจะมีราคาแตกต่างกัน โดยปลาไหลนาจากธรรมชาติจะมีราคาสูงกว่ามาก เพราะคนเราเชื่อว่าเป็นปลาไหลตามธรรมชาติที่ไม่กินของสกปรกหรือซากสัตว์เปื่อยเหมือนในบ่อเลี้ยง
• ชั้น : Actinopterygii
• อันดับ : Synbranchiformes
• วงศ์ : Synbranchidae
• สกุล : Fluta, Monopterus
• อันดับ : Synbranchiformes
• วงศ์ : Synbranchidae
• สกุล : Fluta, Monopterus
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Monopterus albus Zuiew หรือ Fluta alba
• ชื่อสามัญ :
– Swamp eel
– Rice field eel
– Asian swamp eel
• ชื่อเรียกท้องถิ่น :
– ปลาไหล
– ปลาไหลนา
– ปลาไหลทุ่ง
– ปลาไหลบึง
• ชื่อสามัญ :
– Swamp eel
– Rice field eel
– Asian swamp eel
• ชื่อเรียกท้องถิ่น :
– ปลาไหล
– ปลาไหลนา
– ปลาไหลทุ่ง
– ปลาไหลบึง
การแพร่กระจาย และการดำรงชีพ
ปลาไหลนา เป็นปลาที่พบได้ในแถบประเทศอบอุ่นทั่วโลก ทั้งเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้โดยเฉพาะไทย และประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งสามารถพบได้ตามทุ่งนา สระน้ำ อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ บึง และพื้นที่ชุ่มน้ำทุกแห่ง
ปลาไหลนา เป็นปลาที่พบได้ในแถบประเทศอบอุ่นทั่วโลก ทั้งเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้โดยเฉพาะไทย และประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งสามารถพบได้ตามทุ่งนา สระน้ำ อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ บึง และพื้นที่ชุ่มน้ำทุกแห่ง
ปลาไหลนา เป็นปลาที่อาศัยได้ทั้งในน้ำ และโคลนตม แต่ไม่มีชีวิตรอดได้ในดินแห้งที่ขาดน้ำ ซึ่งแบ่งช่วงการดำรงชีพออกเป็น 2 ช่วง คือ
1. ฤดูแล้ง
ในฤดูแล้ง บริเวณสระ ทุ่งนา หรือแหล่งน้ำขังบางพื้นที่มักไม่มีน้ำ เป็นเพียงบ่อที่แห้งขอด แต่จะมีก้นบ่อที่ด้านล่างมักเป็นโคลนตม ซึ่งจะเป็นที่หลบอาศัยของปลาไหลจนกว่าจะถึงฤดูฝน ทั้งนี้ ก่อนที่น้ำจะลดจนแห้ง ปลาไหลนาจะขุดรู และมุดตัวเองลงที่ชั้นโคลนตมด้านล่าง ซึ่งสามารถขุดรูได้ลึกมากกว่า 1 เมตร ทั้งนี้ ช่วงนี้ จะอาศัยกินโคลนตมที่มีซากเน่าเปื่อยของพืช และสัตว์ประทังให้มีชีวิตรอด
2. ฤดูฝน
ในฤดูฝน ปลาไหลนาจะออกหาอาหาร และแหล่งวางไข่ ซึ่งจะว่ายน้ำไปในแหล่งน้ำใหม่ เช่น บริเวณทุ่งนาหรือพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง ซึ่งจะมีการออกหาอาหารหรืออพยพเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่มีการวางไข่ และกินอาหารจนร่างกายเติบโตมากขึ้น
1. ฤดูแล้ง
ในฤดูแล้ง บริเวณสระ ทุ่งนา หรือแหล่งน้ำขังบางพื้นที่มักไม่มีน้ำ เป็นเพียงบ่อที่แห้งขอด แต่จะมีก้นบ่อที่ด้านล่างมักเป็นโคลนตม ซึ่งจะเป็นที่หลบอาศัยของปลาไหลจนกว่าจะถึงฤดูฝน ทั้งนี้ ก่อนที่น้ำจะลดจนแห้ง ปลาไหลนาจะขุดรู และมุดตัวเองลงที่ชั้นโคลนตมด้านล่าง ซึ่งสามารถขุดรูได้ลึกมากกว่า 1 เมตร ทั้งนี้ ช่วงนี้ จะอาศัยกินโคลนตมที่มีซากเน่าเปื่อยของพืช และสัตว์ประทังให้มีชีวิตรอด
2. ฤดูฝน
ในฤดูฝน ปลาไหลนาจะออกหาอาหาร และแหล่งวางไข่ ซึ่งจะว่ายน้ำไปในแหล่งน้ำใหม่ เช่น บริเวณทุ่งนาหรือพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง ซึ่งจะมีการออกหาอาหารหรืออพยพเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่มีการวางไข่ และกินอาหารจนร่างกายเติบโตมากขึ้น
ลักษณะทั่วไป
ปลาไหลนามีลำตัวคล้ายงู มีช่องเหงือกบริเวณใต้ส่วนหัว ลำตัวมีหนัง ไม่มีเกร็ด คล้ายกับหนังปลาดุกที่เป็นแผ่นหนังบางๆ แต่เหนียวลื่นหุ้ม ผิวหนังลำตัวมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง ผิวส่วนท้องมีสีจางกว่าด้านหลัง ส่วนหัวมีริมฝีปากบนหนา และยื่นเลยริมฝีปากล่าง ปากมีขากรรไกรแข็งแรง มีฟันขนาดเล็กบนขาไกรกรร ตา 2 ข้าง มีขนาดค่อนข้างเล็ก
ปลาไหลนามีลำตัวคล้ายงู มีช่องเหงือกบริเวณใต้ส่วนหัว ลำตัวมีหนัง ไม่มีเกร็ด คล้ายกับหนังปลาดุกที่เป็นแผ่นหนังบางๆ แต่เหนียวลื่นหุ้ม ผิวหนังลำตัวมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง ผิวส่วนท้องมีสีจางกว่าด้านหลัง ส่วนหัวมีริมฝีปากบนหนา และยื่นเลยริมฝีปากล่าง ปากมีขากรรไกรแข็งแรง มีฟันขนาดเล็กบนขาไกรกรร ตา 2 ข้าง มีขนาดค่อนข้างเล็ก
ลำตัวไม่มีครีบ ทั้งครีบหู และครีบท้อง ส่วนครีบหาง และครีบก้นลดรูปรวมกันกลายเป็นส่วนหาง ภายในลำตัวไม่มีก้าง แต่มีกระดูกสันหลัง 98-188 ข้อ ขึ้นอยู่กับอายุของปลาไหล ขนาดลำตัวเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 0.5 เซนติเมตร และใหญ่ได้มากกว่านี้ ส่วนความยาวลำตัวสามารถยาวได้ถึง 1 เมตร
เพศปลาไหล
ปลาเพศผู้
– ลำตัวมีขนาดเล็ก และเรียวยาวกว่าเพศเมีย
– ช่องเพศเป็นวงขนาดเล็ก
ปลาเพศเมีย
– ลำตัวมีอ้วนป้อม และสั้น
– ช่องเพศมีลักษณะเป็นวงนูนใหญ่
ปลาเพศผู้
– ลำตัวมีขนาดเล็ก และเรียวยาวกว่าเพศเมีย
– ช่องเพศเป็นวงขนาดเล็ก
ปลาเพศเมีย
– ลำตัวมีอ้วนป้อม และสั้น
– ช่องเพศมีลักษณะเป็นวงนูนใหญ่
อาหารปลาไหล
ปลาไหล เป็นปลาที่กินเนื้อ มีอาหารสำคัญ คือ ปู ลูกปลา ไส้เดือน ซากสัตว์ และแมลงต่างๆ แต่จะโปรดปรานมาก็จะเป็นซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย แต่หากฤดูขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะหน้าแล้ง ปลาไหลมักจะกินซากเน่าเปื่อยของใบไม้หรือดินโคลนเป็นอาหาร
ปลาไหล เป็นปลาที่กินเนื้อ มีอาหารสำคัญ คือ ปู ลูกปลา ไส้เดือน ซากสัตว์ และแมลงต่างๆ แต่จะโปรดปรานมาก็จะเป็นซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย แต่หากฤดูขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะหน้าแล้ง ปลาไหลมักจะกินซากเน่าเปื่อยของใบไม้หรือดินโคลนเป็นอาหาร
การผสมพันธ์ และวางไข่
ปลาไหลนา สามารถแบ่งเป็นตัวผู้ตัวเมียด้วยอวัยวะเพศเท่านั้น โดยตัวเมียที่อยู่ในระยะเจริญพันธุ์เท่านั้นจึงจะพบรังไข่ได้ เพราะในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์จะไม่สามารถแยกแยะเพศปลาไหลได้ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 8-30 สัปดาห์ ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ และรังไข่ของปลาไหลตัวเมียจะเจริญเพียงข้างเดียว ส่วนอีกข้างจะลีบฝ่อ ทั้งนี้ ปลาไหลนามีช่วงฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม แต่จะวางไข่มากในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงกลางฤดูฝนหรือถึงช่วงประมาณเดือนสิงหาคม
ปลาไหลนา สามารถแบ่งเป็นตัวผู้ตัวเมียด้วยอวัยวะเพศเท่านั้น โดยตัวเมียที่อยู่ในระยะเจริญพันธุ์เท่านั้นจึงจะพบรังไข่ได้ เพราะในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์จะไม่สามารถแยกแยะเพศปลาไหลได้ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 8-30 สัปดาห์ ก่อนถึงวัยเจริญพันธุ์ และรังไข่ของปลาไหลตัวเมียจะเจริญเพียงข้างเดียว ส่วนอีกข้างจะลีบฝ่อ ทั้งนี้ ปลาไหลนามีช่วงฤดูวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม แต่จะวางไข่มากในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงกลางฤดูฝนหรือถึงช่วงประมาณเดือนสิงหาคม
เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาไหลนาจะขุดรูบริเวณรูเดิมที่เป็นดินเหนียวลึกเพื่อเข้าไปวางไข่ ซึ่งมักเป็นขอบสระ ขอบแม่น้ำ รวมถึงเข้าวางไข่ในโพรงไม้บริเวณน้ำตื้น
ไข่ปลาไหลจะมีลักษณะทรงกลม สีเหลืองอ่อน ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร เป็นไข่ชนิดจมน้ำ และไม่มีสารเหนียวคลุมไข่ โดยแม่ปลาไหล 1 ตัว จะวางไข่ประมาณ 100-1000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาไหล
หลังจากวางไข่แล้ว แม่ปลาไหลนาจะคอยดูแลไข่อย่างใกล้ชิดภายในรู และจะออกหากินบ้างบริเวณใกล้ อย่างไม่ทิ้งห่าง โดยแม่ปลาไหลมีพฤติกรรมการอมไข่ และพ่นไข่ใส่หวอด ทั้งนี้ ไข่ปลาไหลจะฟักเป็นตัวภายใน 7 วัน โดยหลังจากลูกปลาไหลฟักออกจากไข่แล้ว ลูกปลาไหลจะยังอยู่ในโพรงดินหรือรังต่อ แต่เมื่อไข่แดงยุบตัวแล้ว หรือประมาณ 7 วัน หลังการฟัก ลูกปลาไหลจึงว่ายออกมานอกรัง
การเลี้ยงปลาไหล
การเพาะขยายพันธุ์
คัดเลือกปลาไหลพ่อพันธุ์ ขนาดตั้งแต่ 300 กรัม ขึ้นไป หรือลำตัวยาวตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ขึ้นไป ส่วนแม่พันธุ์คัดเลือกขนาดตั้งแต่ 150 กรัม ขึ้นไป หรือความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ขึ้นไป นำปล่อยเพาะให้ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติในบ่อเพาะพันธุ์ ในช่วงการเพาะตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม อัตราการปล่อยตัวผู้ต่อตัวเมียที่ 1:3 และให้อาหารเป็นปลาขนาดเล็กหรือไส้เดือน วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเย็น ปริมาณการให้ที่ร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัวปลาไหลทั้งหมด ทั้งนี้ ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำในทุกๆ 10 วัน
การเพาะขยายพันธุ์
คัดเลือกปลาไหลพ่อพันธุ์ ขนาดตั้งแต่ 300 กรัม ขึ้นไป หรือลำตัวยาวตั้งแต่ 50 เซนติเมตร ขึ้นไป ส่วนแม่พันธุ์คัดเลือกขนาดตั้งแต่ 150 กรัม ขึ้นไป หรือความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ขึ้นไป นำปล่อยเพาะให้ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติในบ่อเพาะพันธุ์ ในช่วงการเพาะตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม อัตราการปล่อยตัวผู้ต่อตัวเมียที่ 1:3 และให้อาหารเป็นปลาขนาดเล็กหรือไส้เดือน วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเย็น ปริมาณการให้ที่ร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัวปลาไหลทั้งหมด ทั้งนี้ ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำในทุกๆ 10 วัน
การวางไข่ของปลาไหลอาจวางในท่อ PVC หรือ ขุดรูในดินเหนียว ซึ่งหากวางไข่แล้วก็จะสังเกตเห็นหวอดเป็นฟองอากาศสีขาวอมเหลือง
บ่อเพาะพันธุ์ เป็นบ่อที่ก่อด้วยอิฐ สูงประมาณ 1 เมตร ขนาดบ่อ 2×2 เมตร พื้นบ่อด้วยปูน และเทด้วยดินเหนียวปริมาณ 1 ใน 2 ส่วน ความสูงของดินเหนียวประมาณ 20 เซนติเมตร และปล่อยให้น้ำท่วมเหนือดินประมาณ 20 เซนติเมตร พร้อมใส่ท่อ PVC สำหรับให้ปลาไหลหลบอาศัย 1-2 ท่อ
การอนุบาลลูกปลาไหล
หลังจากที่ลูกปลาไหลฟักออกแล้ว 3-5 วัน ให้เริ่มให้อาหารด้วยไข่ต้มบด และไรแดง 2 ครั้ง/วัน เช้า และเย็นเป็นเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากนั้น จึงให้อาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หนอนแดง หรือ ไส้เดือนขนาดเล็ก นาน อีก 1 เดือน จึงพร้อมปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป
หลังจากที่ลูกปลาไหลฟักออกแล้ว 3-5 วัน ให้เริ่มให้อาหารด้วยไข่ต้มบด และไรแดง 2 ครั้ง/วัน เช้า และเย็นเป็นเวลา 2 อาทิตย์ หลังจากนั้น จึงให้อาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หนอนแดง หรือ ไส้เดือนขนาดเล็ก นาน อีก 1 เดือน จึงพร้อมปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป
การเลี้ยงปลาไหลรุ่น
บ่อสำหรับเลี้ยงปลาไหลรุ่นสามารถทำบ่อได้ตั้งแต่ขนาด 2×4 เมตร ถึง 5×10 เมตร บ่อสูงประมาณ 1 เมตร ก้นบ่อทีปูนหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร รองพื้นก้นบ่อด้วยโคลนตม หนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร และใส่ฟางข้าวหรือหยวกกล้วยประมาณครึ่งบ่อ พร้อมท่อ PVC 3-5 ท่อ/บ่อ ก่อนใส่น้ำท่วมสูงในระยะลงไปจากขอบบ่อ ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร
บ่อสำหรับเลี้ยงปลาไหลรุ่นสามารถทำบ่อได้ตั้งแต่ขนาด 2×4 เมตร ถึง 5×10 เมตร บ่อสูงประมาณ 1 เมตร ก้นบ่อทีปูนหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร รองพื้นก้นบ่อด้วยโคลนตม หนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร และใส่ฟางข้าวหรือหยวกกล้วยประมาณครึ่งบ่อ พร้อมท่อ PVC 3-5 ท่อ/บ่อ ก่อนใส่น้ำท่วมสูงในระยะลงไปจากขอบบ่อ ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร
ปลาไหลรุ่นที่ใช้ปล่อยเลี้ยงสามารถปล่อยได้ตั้งแต่ขนาดยาว 5 เซนติเมตร ขึ้นไป หรืออนุบาลมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 เดือน อัตราการปล่อยประมาณ 20-50 ตัว/ตารางเมตร
สำหรับอาหารจะให้เป็นปลาสับ เนื้อไก่สับ หรืออาหารอื่นๆที่เป็นเนื้อราคาถูก รวมถึงอาหารที่หาได้ตามท้องถิ่น เช่น ไส้เดือน เป็นต้น ความถี่การให้ วันละ 1 ครั้ง ในช่วงเย็น เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 6-8 เดือน จะได้ปลาไหลขนาด 3-4 ตัว/กิโลกรัม
วิธีจับปลาไหลนาตามธรรมชาติ
1. การวางกับดัก
การวางกับดักนิยมทำในช่วงฤดูฝนหรืออาจเป็นฤดูแล้งที่ใช้วางตามสระน้ำก็ได้ โดยการใช้กับดักที่ทำจากท่อไม้ไผ่ ขนาดยาว 2 ข้อ หรือ ท่อ PVC ขนาด 2นิ้วครึ่ง โดยด้านข้างลำไม่ไผ่หรือท่อจะเจาะรูเล็กๆโดยรอบ 3-5 รู ส่วนปากท่อด้านหนึ่งใส่ตะแกรงให้ปลาไหลมุดเข้าได้ แต่มุดออกไม่ได้ และท้ายจะปิดตายสนิท
1. การวางกับดัก
การวางกับดักนิยมทำในช่วงฤดูฝนหรืออาจเป็นฤดูแล้งที่ใช้วางตามสระน้ำก็ได้ โดยการใช้กับดักที่ทำจากท่อไม้ไผ่ ขนาดยาว 2 ข้อ หรือ ท่อ PVC ขนาด 2นิ้วครึ่ง โดยด้านข้างลำไม่ไผ่หรือท่อจะเจาะรูเล็กๆโดยรอบ 3-5 รู ส่วนปากท่อด้านหนึ่งใส่ตะแกรงให้ปลาไหลมุดเข้าได้ แต่มุดออกไม่ได้ และท้ายจะปิดตายสนิท
ขั้นตอนการวางกับดักจะใช้เหยื่อ ได้แก่ ไส้เดือน ปูตาย หอย หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ เทใส่ในกระบอกไม้ไผ่หรือท่อ PVC ก่อนจะจุ่มนอนใต้น้ำ พร้อมปักหลักยึดไว้ หลังจากนั้น ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ตอนเช้าตรู่ค่อยมาเก็บกับดัก
2. การวางเป็ด
การวางเป็ดจะมี 2 รูปแบบ คือ
– การวางเป็ดริมขอบสระหรือคันนา โดยใช้เป็ดที่ทำคันด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจะใช้ปักลงดิน ส่วนตัวเป็ดจะเสียบด้วยเหยื่อ คือ ไส้เดือน ซึ่งจะได้ผลดี เพราะปลาไหลชอบมาก
– การวางเป็ดในรูปลาไหล ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลมากถึง 100% แต่ต้องใช้ความชำนาญในการหารูปลาไหลให้เจอก่อน จากนั้น จะใช้เป็ดที่นิยมใช้เอ็นหรือเชือกเบอร์ใหญ่เป็นสาย ก่อนจะเสียบเหยื่อด้วยไส้เดือน และหย่อนตะขอเป็ดที่เสียบเหยื่อแล้งลงรูปลาไหล ทั้งนี้ ปลาเอ็นหรือเชือกอีกด้านให้มัดกับไม้ และเสียบไว้ข้างรูให้แน่น หลังจากนั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงมาดูเป็ด
การวางเป็ดจะมี 2 รูปแบบ คือ
– การวางเป็ดริมขอบสระหรือคันนา โดยใช้เป็ดที่ทำคันด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจะใช้ปักลงดิน ส่วนตัวเป็ดจะเสียบด้วยเหยื่อ คือ ไส้เดือน ซึ่งจะได้ผลดี เพราะปลาไหลชอบมาก
– การวางเป็ดในรูปลาไหล ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลมากถึง 100% แต่ต้องใช้ความชำนาญในการหารูปลาไหลให้เจอก่อน จากนั้น จะใช้เป็ดที่นิยมใช้เอ็นหรือเชือกเบอร์ใหญ่เป็นสาย ก่อนจะเสียบเหยื่อด้วยไส้เดือน และหย่อนตะขอเป็ดที่เสียบเหยื่อแล้งลงรูปลาไหล ทั้งนี้ ปลาเอ็นหรือเชือกอีกด้านให้มัดกับไม้ และเสียบไว้ข้างรูให้แน่น หลังจากนั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงมาดูเป็ด
หากเอ็นหรือเชือกตึงแน่น แสดงว่า ปลาไหลกินเป็ดแล้ว หลังจากนั้น จึงค่อยขุดตามรู และสายเอ็นไปหาตัวปลาไหล ทั้งนี้ อาจใช้วิธีดึงเชือกแทนก็ได้ แต่ควรทดลองดึงเชือกก่อน แต่หากดึงแล้วไม่ออก ก็ไม่ควรดึง เพราะอาจทำให้ตัวปลาไหลหลุดจากตะขอเป็ดหักได้ แล้วค่อยใช้วิธีขุดตามจะดีกว่า
ขอบคุณภาพจาก http://picpost.postjung.com/145206.html
3. การขุดตามรู
การขุดตามรูมักทำในช่วงหน้าแล้งตามสระน้ำหรือแปลงนาที่แห้งแล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างเหนื่อยมาก และต้องใช้ความชำนาญในการหารูปลาไหลให้เจอก่อนเช่นกัน จากนั้น ใช้เสียบหรือจอบไล่ขุดตามรูไปเรื่อยจนกว่าจะเจอตัวปลาไหล แต่บางครั้ง อาจไม่เจอปลาไหล เพราะเป็นรูร้างก็ได้
การขุดตามรูมักทำในช่วงหน้าแล้งตามสระน้ำหรือแปลงนาที่แห้งแล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างเหนื่อยมาก และต้องใช้ความชำนาญในการหารูปลาไหลให้เจอก่อนเช่นกัน จากนั้น ใช้เสียบหรือจอบไล่ขุดตามรูไปเรื่อยจนกว่าจะเจอตัวปลาไหล แต่บางครั้ง อาจไม่เจอปลาไหล เพราะเป็นรูร้างก็ได้
4. การแทงหา
การแทงหามักทำในช่วงฤดูแล้งตามขอบสระที่มีน้ำขัง ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญในการหารูเช่นกัน และเมื่อพบรูแล้วค่อยใช้เหล็กแหลมที่ทำจากเหล็กเส้น ซึ่งส่วนปลายตี และผ่าให้เป็น 2 หรือ 3 ง่าม ส่วนต้นของเหล็กแหลมเชื่อมกับเหล็กท่อสำหรับจับแทงลงดิน
การแทงหามักทำในช่วงฤดูแล้งตามขอบสระที่มีน้ำขัง ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญในการหารูเช่นกัน และเมื่อพบรูแล้วค่อยใช้เหล็กแหลมที่ทำจากเหล็กเส้น ซึ่งส่วนปลายตี และผ่าให้เป็น 2 หรือ 3 ง่าม ส่วนต้นของเหล็กแหลมเชื่อมกับเหล็กท่อสำหรับจับแทงลงดิน
ขั้นตอนการแทงนั้น จะต้องใช้ความชำนาญสูงมากกว่าการหารูปลาไหล เพราะหากแทงถูกตัวปลาไหลหรือแทงถูกรากหญ้าหรือรากต้นไม้จะรู้สึกกระทุ้งมือคล้ายกัน แต่ผู้ที่ชำนาญจะรับรู้ถึงความต่างที่แทงถูกตัวปลาไหลได้ คือ หากแทงถูกตัวปลาไหลแล้วจะรู้สึกกระทุ้งมือ เมื่อดันแทงลงจะกดไม่ลง และรู้สึกนิ่ม แต่ที่สำคัญที่รู้ได้อย่างแน่ชัด คือ เหล็กแทงจะเคลื่อนที่ไปตามแรงปลาไหลที่พยายามจะหนี
ทั้งนี้ เมื่อเหล็กระทุ้งมือแล้วหากสงสัยว่าใช่หรือไม่ ห้ามถอนเหล็กขึ้นเป็นอันขาด และจะต้องกดเหล็กแทงให้ค้างไว้ และจับให้แน่น ก่อนจะค่อยกระทุ้งลงเบาๆเพื่อให้แน่ใจ
ที่มาhttp://pasusat.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น