ปลากราย

                                       ปลากราย

ปลากราย เป็นสัตว์น้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง และบึง เกือบทั่วประเทศ โดยชื่อที่เรียกกันของแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามถิ่น เช่น ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาหางแบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาตองกราย เป็นต้น ปลากรายเป็นปลาประเภทกินเนื้อ ซึ่งอาหารที่หากินตามธรรมชาติ ได้แก่ ตัวอ่อนของแมลง กุ้งฝอย ลูกปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำอื่นๆ
ปลากราย มีลักษณะลำตัวยาวบาง แบนข้าง ส่วนหัวมีขนาดที่เล็กเว้าเป็นสันโค้ง ลักษณะที่เด่นของปลากรายคือ เหนือครีบก้นจะมีจุดสีดำค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 5-10 จุด เรียงเป็นแถว สีของตัวปลามีลักษณะเป็นสีขาวเงิน ฤดูวางไข่ที่เหมาะสมของปลากรายอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-ตุลาคม
dsc_0592
ปลากราย เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะนิยมนำมาขูดเอาเนื้อเป็นการเพิ่มมูลค่า เพราะจำหน่ายได้ราคาที่แพงกว่าปลาที่จำหน่ายเป็นตัว การนำเนื้อปลากรายมาปรุงอาหารนั้น สามารถทำได้หลากหลายเมนู เช่น ทอดมันปลากราย ลูกชิ้นปลากราย เป็นต้น ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมรับประทาน เพราะเนื้อปลามีรสชาติดี มีความนุ่มหนึบ
ซึ่งปัจจุบัน ปลากราย ที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มมีจำนวนที่ลดน้อยลง จึงได้มีการเพาะพันธุ์และมีการเลี้ยงเป็นอาชีพมากขึ้น ถือเป็นการส่งเสริมด้านอาชีพต่อไป เหมือนเช่น คุณอนันต์ หิมารัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่มากด้วยประสบการณ์ เพราะปัจจุบันเขาไม่ได้เลี้ยงแต่ปลากรายเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำงานด้านการเกษตรอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้อีกด้วย

ทำเกษตรหลากหลาย รวมทั้งการประมง
คุณอนันต์ เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักเริ่มแรกคือ ทำสวนผลไม้เป็นรายได้ ต่อมา ปี 2537 จึงได้มาทดลองเพาะพันธุ์ปลาแรด สาเหตุที่ทดลองเพาะพันธุ์ปลาดู เกิดเนื่องมาจากที่บ้านได้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแรดไว้ จึงได้นำไข่ปลาแรดมาทดลองเพาะพันธุ์ก็ยังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
“ตอนมาทดลองเพาะพันธุ์ ก็มีตายบ้างช่วงนั้น ก็หาวิธีมาเรื่อยๆ เพื่อดูไม่ให้ตาย พอเราลองแล้วประสบผลสำเร็จดี ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้น คนที่รู้ก็สนใจลูกพันธุ์ปลาแรดก็มาซื้อไปเลี้ยง ต่อมาประมาณ 3 ปี ก็ได้ไปรู้จักกับคนที่เขาทำเพาะพันธุ์ปลากรายที่สุพรรณบุรี เราก็ซื้อลูกปลาจากเขามาเพื่ออนุบาลจำหน่ายลูกพันธุ์ ก็ผลตอบรับดี จำหน่ายได้ คราวนี้เราก็ไม่อยากทำแต่ลูกพันธุ์ ประมาณปี 40 ก็เริ่มทดลองเลี้ยงเองบ้าง” คุณอนันต์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการได้เริ่มเลี้ยงปลากราย

ที่มาhttps://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_3863

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปลาตะเพียนทอง

ปลาหมอบัตเตอร์

ปลาตะเพียนขาว