ปลาแดง
ปลาแดง
ในแนวทางเดิมที่ผมเคยนำเสนอเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแดงนั้น...เมื่อเวลาผ่านไปผมก็พบว่า...เป็นแนวทางที่สามารถเลี้ยงปลาให้มีสีสันดีตามสายพันธุ์ได้ก็จริง แต่ก็มีปัญหาในแง่ของการดูแลปลาด้วยเช่นกัน อันนี้เป็นความจริงที่ต้องยอมรับครับ
สืบเนื่องกับการที่เราพยายามยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำออกไปเพื่อต้องการให้น้ำเป็นกรดมากขึ้น เพราะเราทราบว่าปลาอะโรฯแดงนั้นชอบน้ำที่เป็นกรดอ่อน ๆ แต่ทว่า..ถ้าเราพลาดที่จะเช็คค่า pH เมื่อใด หลาย ๆ ครั้งเราจะพบกว่าค่า pH นั้นลงไปในระดับที่ต่ำมาก (ต่ำกว่า 5) และก็จะทำให้น้ำขุ่นเมื่อเราได้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ รวมทั้ง...สามารถทำให้ปลาตายได้ด้วย pH SHOCK (ค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในเวลารวดเร็ว สามารถทำให้ปลาตายได้)
ไม่ใช่แค่ปัญหาเกี่ยวกับค่า pH เท่านั้น ในสภาวะที่น้ำแก่มาก ๆ ก็ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในปลาแดงบางตัวได้ เช่น เหงือกมีปัญหา มีอาการขึ้นขุ๋ยที่เกล็ดและครีบ ฯลฯ รวมทั้งเพื่อนร่วมตู้ก็ต้องจากไปหาพี่ยมเพราะไม่สามารถทนต่อค่า pH ที่ต่ำมาก ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม....ในแง่ของผู้เลี้ยง เราก็คงไม่ต้องการปลาที่สีสันดีแต่มีปัญหาในด้านอื่น ในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ต้องการให้ปลาที่เราซื้อปลานั้น..โตแต่ตัว แต่พัฒนาการด้านสีสันนั้น..ไม่ได้พัฒนาตามกันเลย
สำหรับผม ผมได้ลองซื้อปลาอะโรฯแดงตัวใหม่ มาลองเลี้ยงในแนวทางที่แตกต่างจากเดิม นั้นคือ...เลี้ยงแบบเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอ ไม่ยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำออกไปตามแบบเดิม
ซึ่งจากการเลี้ยงดูได้ระยะหนึ่ง...ผมก็พบว่า..การพัฒนาของสีสันนั้นก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมเลย นั้นคือ..ปลาก็มีสีสันดีตามสายพันธุ์และศักยภาพของปลา
เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ผมก็ได้ลองเอาปลาแดงตัวเดิม ๆ ของผมที่เคยเลี้ยงตามแนวทางเดิม..มาลองปรับใช้ตามแนวทางใหม่ ซึ่งก็ปรากฏว่า...สีสันก็ไม่ได้ซีดลงไปเลย สีสันก็ยังคงดี แล้วก็มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นไปตามการเวลาที่เปลี่ยนไป
สรุปสั้น ๆ เมื่อไม่ให้เป็นที่เสียเวลา แนวทางเลี้ยงปลาแดงฉบับปรับปรุงใหม่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1 ในส่วนของตู้ก็ยังเหมือนเดิมครับ ตู้ที่เข้มดำทำให้ปลาปรับตัวให้มีสีสันเข้ม อย่างไงก็ตาม..ปลาที่มีสายพันธุ์ดีมาก ๆ แค่พื้นดำฉากใส..ปลาก็สามารถขับสีสันได้ไม่แพ้กัน
2 หลอดไฟ..ยังแนะนำเหมือนเดิมครับ นั้นคือ หลอด 12000K(ยี่ห้ออะไรก็ได้ kowa toshiba hitachi เป็นต้น) เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าตู้โดนแสงแดดธรรมชาติ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในตู้ตลอดเวลา
3 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ สามารถเปลี่ยนน้ำอาทิตย์ละครั้ง หรืออาทิตย์ละสองครั้ง หรือวันเว้นวันก็ยังได้ แต่..ต้องไม่เกิน 10-15% ต่อครั้ง (จากการทดลอง ผมได้ลองเปลี่ยนน้ำที่ 20-25% ซึ่งผมก็เห็นอาการตื่นน้ำใหม่ของปลาแดงอย่างเด่นชัด--สีซีดลง) ดังนั้น..ถ้ามองที่การเปลี่ยนน้ำ 10% ต่อครั้งต่ออาทิตย์ ก็ยังเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณน้อย เพราะฉะนั้นก็ไม่แนะนำให้ใส่ tankmate จำนวนมากในตู้เหมือนเดิม
4 วัสดุกรอง...ไม่ใช่ปะการังเช่นเดิม
5 อาหาร ผมใช้กุ้งฝอยเป็นหลัก แต่จะข้อมูลที่ได้รวบรวมผ่านผู้เลี้ยงท่านอื่น และเพื่อน ๆ ก็พบว่า...ขอให้ปลากินเป็นพอครับ ปลากินดี..กินเก่ง..ก็จะไม่เครียด ขับสีสันได้ดี ถ้าผู้เลี้ยงพยายามปรับอาหารปลา และปลาก็ไม่ให้ความร่วมมือ ท้ายสุดปลาเครียด สีสันพาลจะซีดลงครับ สรุปแล้ว..ปลาของเราชอบกินอะไรก็ให้อย่างนั้นครับ
4 หมักหูกวาง...อันนี้เหมือนเดิมครับ แล้วแต่ผู้เลี้ยงแต่ละท่านครับ ตามสะดวกครับ
5 อุณหภูมิ..ควบคุมให้ต่ำกว่า 30 องศา โดยการติดพัดลมที่ฝาตู้ในกรณีที่อุณหภูมิสูงเกิน (ให้อยู่ระหว่าง 27-30 ไม่แกว่ง)
จะเห็นว่า...ผมไม่พูดถึงค่า pH เลย ซึ่งในแนวทางนี้ จากที่ผมได้ลองเปลี่ยนน้ำที่ 10% สัปดาห์ละครั้งถึงสองครั้ง ค่า pH ในตู้จะอยู่ระหว่าง 7.5-8.0 ก็ไม่เป็นผลต่อสีสันเลย นั่นคือ..ปลาก็ยังคงมีการพัฒนาสีสันตามสายพันธุ์
โดยส่วนตัว..ผมยังไม่ได้ทดลองเลี้ยงปลาแดงในวัสดุกรองที่เป็นปะการัง เพราะฉะนั้น..ผมไม่ได้บอกว่าปลาแดงจะแดงในตู้ที่มีวัสดุกรองเป็นปะการังไม่ได้นะครับ
สำหรับแนวทางเลี้ยงปลาแดงฉบับเดิม ผมเลือกที่จะไม่ถอดบทความออกไปเพราะเห็นว่า...ยังเป็นประโยชน์ ณ ระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า..ในสภาวะน้ำแก่มาก ๆ และ pH ต่ำมาก ๆ ก็เป็นปัญหาสำหรับปลาอะโรฯ ได้เช่นกัน
ก่อนปิดท้าย...ขอเสริมเทคนิคการดูแลปลาแดงนะครับ เมื่อไหร่ที่เห็นปลาแดงของเรามีสีที่ครีบไม่เสมอกัน นั้นคือ..ปลายครีบเข้มแต่โคนครีบจืดกว่าซีดกว่า แสดงว่า..ปลาแดงอันเป็นที่รักของคุณกำลังเครียด หรือไม่ happy กับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นะครับ หาทางแก้ไข มิฉะนั้น..สีสันปลาแดงก็จะค่อย ๆ ซีด หรือไม่เข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปครับ
ท้ายที่สุด ขอให้ปลาแดงของเพื่อน ๆ จงแดงขึ้น ๆ สีสันจ๊าบ ๆ เจ็บ ๆ ไม่แพ้ปลาแดงใน Arowania และขอให้ปลามีสุขภาพแข็งแรง กินดี ไม่มีปัญหาในทุกตัวไป
ปล. การใช้หลอด 12000k นั้น เป็นผลจากการทดสอบปลาแดงหลาย ๆ ตัวในสภาพชนิดหลอดต่าง ๆ กัน ซึ่งปลาแดงภายใต้หลอด 12000k นั้น มีการพัฒนาของสีสันดีกว่าหลอดไฟชนิดอื่น ไม่ใช่เป็นการเผาปลา หรือ burn ปลา ด้วยการกระหน่ำใช้หลาย ๆ หลอด ซึ่งจะมีผลเรื่องความเครียดของปลา ขอเรียนย้ำประเด็นนี้นะครับ
ที่มาhttps://www.pantown.com/group.php?display=content&id=173&name=content13&area=4
ในแนวทางเดิมที่ผมเคยนำเสนอเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแดงนั้น...เมื่อเวลาผ่านไปผมก็พบว่า...เป็นแนวทางที่สามารถเลี้ยงปลาให้มีสีสันดีตามสายพันธุ์ได้ก็จริง แต่ก็มีปัญหาในแง่ของการดูแลปลาด้วยเช่นกัน อันนี้เป็นความจริงที่ต้องยอมรับครับ
สืบเนื่องกับการที่เราพยายามยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำออกไปเพื่อต้องการให้น้ำเป็นกรดมากขึ้น เพราะเราทราบว่าปลาอะโรฯแดงนั้นชอบน้ำที่เป็นกรดอ่อน ๆ แต่ทว่า..ถ้าเราพลาดที่จะเช็คค่า pH เมื่อใด หลาย ๆ ครั้งเราจะพบกว่าค่า pH นั้นลงไปในระดับที่ต่ำมาก (ต่ำกว่า 5) และก็จะทำให้น้ำขุ่นเมื่อเราได้ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ รวมทั้ง...สามารถทำให้ปลาตายได้ด้วย pH SHOCK (ค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในเวลารวดเร็ว สามารถทำให้ปลาตายได้)
ไม่ใช่แค่ปัญหาเกี่ยวกับค่า pH เท่านั้น ในสภาวะที่น้ำแก่มาก ๆ ก็ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในปลาแดงบางตัวได้ เช่น เหงือกมีปัญหา มีอาการขึ้นขุ๋ยที่เกล็ดและครีบ ฯลฯ รวมทั้งเพื่อนร่วมตู้ก็ต้องจากไปหาพี่ยมเพราะไม่สามารถทนต่อค่า pH ที่ต่ำมาก ๆ ได้
อย่างไรก็ตาม....ในแง่ของผู้เลี้ยง เราก็คงไม่ต้องการปลาที่สีสันดีแต่มีปัญหาในด้านอื่น ในขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ต้องการให้ปลาที่เราซื้อปลานั้น..โตแต่ตัว แต่พัฒนาการด้านสีสันนั้น..ไม่ได้พัฒนาตามกันเลย
สำหรับผม ผมได้ลองซื้อปลาอะโรฯแดงตัวใหม่ มาลองเลี้ยงในแนวทางที่แตกต่างจากเดิม นั้นคือ...เลี้ยงแบบเปลี่ยนน้ำสม่ำเสมอ ไม่ยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำออกไปตามแบบเดิม
ซึ่งจากการเลี้ยงดูได้ระยะหนึ่ง...ผมก็พบว่า..การพัฒนาของสีสันนั้นก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมเลย นั้นคือ..ปลาก็มีสีสันดีตามสายพันธุ์และศักยภาพของปลา
เพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ผมก็ได้ลองเอาปลาแดงตัวเดิม ๆ ของผมที่เคยเลี้ยงตามแนวทางเดิม..มาลองปรับใช้ตามแนวทางใหม่ ซึ่งก็ปรากฏว่า...สีสันก็ไม่ได้ซีดลงไปเลย สีสันก็ยังคงดี แล้วก็มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นไปตามการเวลาที่เปลี่ยนไป
สรุปสั้น ๆ เมื่อไม่ให้เป็นที่เสียเวลา แนวทางเลี้ยงปลาแดงฉบับปรับปรุงใหม่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1 ในส่วนของตู้ก็ยังเหมือนเดิมครับ ตู้ที่เข้มดำทำให้ปลาปรับตัวให้มีสีสันเข้ม อย่างไงก็ตาม..ปลาที่มีสายพันธุ์ดีมาก ๆ แค่พื้นดำฉากใส..ปลาก็สามารถขับสีสันได้ไม่แพ้กัน
2 หลอดไฟ..ยังแนะนำเหมือนเดิมครับ นั้นคือ หลอด 12000K(ยี่ห้ออะไรก็ได้ kowa toshiba hitachi เป็นต้น) เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าตู้โดนแสงแดดธรรมชาติ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในตู้ตลอดเวลา
3 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยืดเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ สามารถเปลี่ยนน้ำอาทิตย์ละครั้ง หรืออาทิตย์ละสองครั้ง หรือวันเว้นวันก็ยังได้ แต่..ต้องไม่เกิน 10-15% ต่อครั้ง (จากการทดลอง ผมได้ลองเปลี่ยนน้ำที่ 20-25% ซึ่งผมก็เห็นอาการตื่นน้ำใหม่ของปลาแดงอย่างเด่นชัด--สีซีดลง) ดังนั้น..ถ้ามองที่การเปลี่ยนน้ำ 10% ต่อครั้งต่ออาทิตย์ ก็ยังเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำในปริมาณน้อย เพราะฉะนั้นก็ไม่แนะนำให้ใส่ tankmate จำนวนมากในตู้เหมือนเดิม
4 วัสดุกรอง...ไม่ใช่ปะการังเช่นเดิม
5 อาหาร ผมใช้กุ้งฝอยเป็นหลัก แต่จะข้อมูลที่ได้รวบรวมผ่านผู้เลี้ยงท่านอื่น และเพื่อน ๆ ก็พบว่า...ขอให้ปลากินเป็นพอครับ ปลากินดี..กินเก่ง..ก็จะไม่เครียด ขับสีสันได้ดี ถ้าผู้เลี้ยงพยายามปรับอาหารปลา และปลาก็ไม่ให้ความร่วมมือ ท้ายสุดปลาเครียด สีสันพาลจะซีดลงครับ สรุปแล้ว..ปลาของเราชอบกินอะไรก็ให้อย่างนั้นครับ
4 หมักหูกวาง...อันนี้เหมือนเดิมครับ แล้วแต่ผู้เลี้ยงแต่ละท่านครับ ตามสะดวกครับ
5 อุณหภูมิ..ควบคุมให้ต่ำกว่า 30 องศา โดยการติดพัดลมที่ฝาตู้ในกรณีที่อุณหภูมิสูงเกิน (ให้อยู่ระหว่าง 27-30 ไม่แกว่ง)
จะเห็นว่า...ผมไม่พูดถึงค่า pH เลย ซึ่งในแนวทางนี้ จากที่ผมได้ลองเปลี่ยนน้ำที่ 10% สัปดาห์ละครั้งถึงสองครั้ง ค่า pH ในตู้จะอยู่ระหว่าง 7.5-8.0 ก็ไม่เป็นผลต่อสีสันเลย นั่นคือ..ปลาก็ยังคงมีการพัฒนาสีสันตามสายพันธุ์
โดยส่วนตัว..ผมยังไม่ได้ทดลองเลี้ยงปลาแดงในวัสดุกรองที่เป็นปะการัง เพราะฉะนั้น..ผมไม่ได้บอกว่าปลาแดงจะแดงในตู้ที่มีวัสดุกรองเป็นปะการังไม่ได้นะครับ
สำหรับแนวทางเลี้ยงปลาแดงฉบับเดิม ผมเลือกที่จะไม่ถอดบทความออกไปเพราะเห็นว่า...ยังเป็นประโยชน์ ณ ระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า..ในสภาวะน้ำแก่มาก ๆ และ pH ต่ำมาก ๆ ก็เป็นปัญหาสำหรับปลาอะโรฯ ได้เช่นกัน
ก่อนปิดท้าย...ขอเสริมเทคนิคการดูแลปลาแดงนะครับ เมื่อไหร่ที่เห็นปลาแดงของเรามีสีที่ครีบไม่เสมอกัน นั้นคือ..ปลายครีบเข้มแต่โคนครีบจืดกว่าซีดกว่า แสดงว่า..ปลาแดงอันเป็นที่รักของคุณกำลังเครียด หรือไม่ happy กับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นะครับ หาทางแก้ไข มิฉะนั้น..สีสันปลาแดงก็จะค่อย ๆ ซีด หรือไม่เข้มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปครับ
ท้ายที่สุด ขอให้ปลาแดงของเพื่อน ๆ จงแดงขึ้น ๆ สีสันจ๊าบ ๆ เจ็บ ๆ ไม่แพ้ปลาแดงใน Arowania และขอให้ปลามีสุขภาพแข็งแรง กินดี ไม่มีปัญหาในทุกตัวไป
ปล. การใช้หลอด 12000k นั้น เป็นผลจากการทดสอบปลาแดงหลาย ๆ ตัวในสภาพชนิดหลอดต่าง ๆ กัน ซึ่งปลาแดงภายใต้หลอด 12000k นั้น มีการพัฒนาของสีสันดีกว่าหลอดไฟชนิดอื่น ไม่ใช่เป็นการเผาปลา หรือ burn ปลา ด้วยการกระหน่ำใช้หลาย ๆ หลอด ซึ่งจะมีผลเรื่องความเครียดของปลา ขอเรียนย้ำประเด็นนี้นะครับ
ที่มาhttps://www.pantown.com/group.php?display=content&id=173&name=content13&area=4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น