ปลาหมอ

                                                                ปลาหมอ
“ข่อยนี้คือดั่งปลาเข็งข่อน หนองนาน้ำเขินขาด คันแม่นฝนบ่มาหยาดให้ สิตายแล้งแดดเผา เจ้าเอย” ถ้าเว่าถึงปลาที่หาง่าย รสชาติอร่อย หนึ่งในนั้นก็ต้องมีปลาหมอ (ภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเข็ง)  การเลี้ยงปลาหมอเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากปลาหมอในธรรมชาติที่ลดน้อยลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้น รสชาติที่มีความหอม เนื้อรสหวานและกลมกล่อม จึงทำให้เริ่มมีการเลี้ยงปลาหมอเชิงพานิชย์เกิดขึ้น  การเลี้ยงปลาหมอสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการเลี้ยงปลาหมอในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน หรือการเลี้ยงปลาหมอในกระชัง โดยเกษตรอีสานวันนี้จะนำหลักการเลี้ยงปลาหมอทั่วไปให้พี่น้องบ้านเฮาได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง เพราะปลาหมอเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม
ราคาปลาหมอ
ราคาปลาหมอ
ปลาหมอ
ปลาหมอ
ปลาหมอเป็นปลาเนื้อนุ่ม รสชาติอร่อย ลักษณะลำตัวป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลปนเหลืองดำ ถือว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไม่น้อย เพราะเป็นที่ต้องการในตลาดเพื่อการบริโภคอย่างแพร่หลาย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่าง  ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลาหมอในไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอเพิ่มขึ้นมาหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาหมอชุมพร ปลาหมอนา ปลาหมอสี  แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่กลับมีความต้องการส่งออกไปต่างประเทศค่อนข้างสูง ทั้งที่ในประเทศก็มีความต้องการมากเช่นกัน ดังนั้น  หากมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาหมอให้กับเกษตรกรได้  ก็จะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและยังทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย
เมนูปลาหมอทอด
เมนูปลาหมอทอด

การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาหมอ

  • ควรเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้
  • อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอ

เริ่มจากการเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงปลาหมอ เป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3 บ่อ ดังต่อไปนี้
  • บ่อสำหรับอนุบาลลูกปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
  • บ่อผสมพันธุ์ปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
  • บ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงปลาหมอในวงบ่อปูนซีเมนต์
การเลี้ยงปลาหมอในวงบ่อปูนซีเมนต์

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ

พ่อพันธุ์ ควรมีลักษณะลำตัวยาวว่ายน้ำปราดเปรียว และในการคัดพ่อพันธุ์ให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร  พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธุ์บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล
แม่พันธุ์ ควรจะมีขนาดป้อมสั้น ลำตัวมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว การคัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมอนาให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหารแม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ

การผสมพันธุ์ปลาหมอนา

ให้ทำการผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน คือระหว่างเดือน พ.ค.- ก.ค. ในบ่อผสมพันธุ์ควรใส่น้ำปริมาณความสูง 50-60 เซนติเมตร และหาผักบุ้งใส่ในบ่อด้วย เพื่อเป็นที่กำบังและซ่อนตัวเวลาฟักไข่  นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอนาอัตราส่วน ปลาหมอตัวเมีย 1 ตัว ต่อ ตัวผู้ 2 ตัว ลงในบ่อ เช่น แม่พันธุ์ 100 ตัว ต่อพ่อพันธุ์ 50 ตัว  แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ผสมพันธุ์กันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้น ให้แยกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ออกจากลูกปลาหมอที่ยังเป็น ลูกคอก
ปลาหมอโตเต็มวัย
ปลาหมอโตเต็มวัย

การให้อาหารและการอนุบาลลูกปลาหมอ

จัดการน้ำและอาหารธรรมชาติเข้าบ่อและกรองน้ำด้วยมุ้งตาถี่ ระดับน้ำ 50 เซนติเมตร ใช้ปลาป่นผสมรำละเอียดเป็นอาหารในช่วง 3วันแรก เริ่มให้ไข่ พอเริ่มวันที่ 4 ให้ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางผสมน้ำสาดทั่วบ่อ และอาหารผงสำเร็จรูปหรือรำละเอียดผสมปลาป่น อัตรา 1 ต่อ 1 หลังจากอนุบาล 3 สัปดาห์ ค่อยๆเพิ่มระดับน้ำเป็น 80 เซนติเมตร
ลูกปลาหมอ
ลูกปลาหมอ
การให้อาหารปลาหมอ
การให้อาหารปลาหมอ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงปลาหมอ

ถึงแม้ปลาหมอจะเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพน้ำ แต่ก็ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และกินอาหารได้มากขึ้น  โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำในบ่อ เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ง่าย และประหยัดน้ำได้มากกว่าเปลี่ยนหมดทั้งบ่อ
การอนุบาลลูกปลาหมอ
การอนุบาลลูกปลาหมอ

ระยะเวลาและการจับปลาหมอ

โดยทั่วไปใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 90-120 วัน ถ้าจำหน่ายเมื่อโตเต็มที่ จะได้ราคาอย่างน้อยกิโลกรัมละ 150 บาท แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ลูกปลาขาย  ราคาทั่วไปที่จำหน่ายคือ ตัวละ 1 บาท
การจับปลาหมอเพื่อจำหน่าย
การจับปลาหมอเพื่อจำหน่าย
อีสานร้อยแปดขอแนะนำหนังสือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาหมอ เป็นหนังสือที่มีคุณภาพ ข้อมูลทางวิชาการครบถ้วน จัดทำโดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ที่มาhttps://esan108.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปลาตะเพียนทอง

ปลาตะเพียนขาว

ปลาหมอบัตเตอร์