ปลาทับทิม

                         การเลี้ยงปลาทับทิม

ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิม

ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ปลานิล กับ ปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงิน คล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล
ที่เรียกว่า ปลานิลแดง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้น แต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิม แต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้ กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัวของมันเองนะคะ คือเป็นปลาที่มีสีสวยเป็นสีชมพูอมแดงซึ่งปลานิลแดงนี้สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้
เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้ว พบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดา ปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนัก โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่าง และอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น

 ลักษณะของปลาทับทิม

1.เส้นใยเนื้อละเอียดแน่นจึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น
2.มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลาและเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์
3.ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง40เปอร์เซ็นต์และมีส่วนสันหนามาก
4.ส่วนหัวเล็กโครงกระดูกเล็กก้างน้อย
5.ผิวมีสีแดงอมชมพูเนื้อทุกส่วนสีขาวทำให้น่ารับประทาน
6.เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง         25        ppt
7.อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก
8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆได้ดี
9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้โดยไม่มีผลเสียต่อปลาให้ผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
556
การเตรียมบ่อ
1.  บ่อใหม่  หมายถึง  บ่อดินที่ชุดใหม่จึงไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคปลา  แต่การคำนึงความเป็นกรดเป็นด่างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแต่ละพื้นที่ของดิน  ดังนั้นบ่อใหม่ควรพิจารณากระทำสิ่งต่อไปนี้
1.1  ต้องมีการวัด  pH  และปรับ pH  ของน้ำให้อยู่ในช่วง 6.5 – 8.5  ซึ่งดินโดยทั่วไปจะใส่ปูนขาวประมาณ  100 – 150  กก./ไร่
1.2  ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินอัตราที่ควรใส่  คือ  200 – 250  กก./ไร่  หรือมากกว่านั้น
1.3  สูบน้ำใส่บ่อ  ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ  1 – 2  สัปดาห์  เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติอย่างสมบูรณ์และปรับสภาพให้เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา  หรืออาจนำพันธุ์ไรแดงมาปล่อยเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติ
1.4  การปล่อยลูกปลาควรปล่อยในตอนเช้า  เพราะอากาศและน้ำมีอุณหภูมิต่ำทำให้ปลาไม่ช๊อคในขณะปล่อยควรจะนำถุงบรรจุปลาแช่น้ำทิ้งไว้  10 – 20  นาที  หรือค่อย ๆ เติมน้ำเข้าไปในถุงเพื่อให้อุณหภูมิใกล้เคียงกันแล้วจงเทลูกปลาลงบ่อ
2.  บ่อเก่า  เป็นบ่อซึ่งผ่านการเลี้ยงมาแล้วก่อนปล่อยลูกปลาลงย่อ  ควรปฏิบัติดังนี้                            1.1    ระบายน้ำออกและจับปลาที่ยังคงเหลืออยู่ออกให้หมด
2.2 ลอกเลนพร้อมกำจัดวัชพืชออกให้หมด  เพราะเป็นที่อยู่ของศัตรูปลาเลนจะเป็นที่หมักหมมของอินทรีย์วัตถุและโรคปลา  และตกแต่งบริเวณคันบ่อที่ไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์
2.3  ควรตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5 – 10 วัน  แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในบ่อให้หมดไป
2.4  ใช้ปูนขาวอัตราส่วน  50 – 100  กิโลกรัม / ไร่  หรือมากกว่า  ถ้าดินเป็นกรด  ปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรค  ศัตรูปลาและช่วยปรับสภาพดิน  โดยหว่านปูนขาวให้ทั่วบ่อ
2.5  ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา  100 – 200  กิโลกรัม / ไร่  เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับบ่อปลา
2.6  สูบน้ำใส่บ่อทิ้งไว้  10 – 15  วัน  อาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาจะมีปริมาณเพียงพอ
2.7  บ่อเก่าถ้าสูบน้ำออกไม่หมดให้ฆ่าศัตรูพืชปลาด้วยโล่ติ้น  หรือกากชา  อัตรา 5 – 10  กิโลกรัม  ต่อ น้ำ  100  ลูกบาศก์เมตร  จะทำให้ศัตรูปลาตาย  ทิ้งไว้ 5 – 7  วัน  พิษของสารพิษจะสลายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ
2.8  ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงบ่อเก่าหลังการจับปลาและฆ่าศัตรูปลาแล้วแต่ไม่ได้ระบายน้ำทิ้งเพราะขาดน้ำใหม่ควรใช้ปูนขาวในอัตรา  250 – 300  กิโลกรัม / ไร่

 ขั้นตอนการเลี้ยงปลาทับทิม

1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)
001
2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์ แต่มีอัตราการเสี่ยงสูง เพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง 60%
3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)
1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว จะแก้ไขไม่ได้
2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. – 11.00 น. – 13.30 น. – 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่ 50-55 กรัม)
3. หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)
4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500 กรัม
5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)
การเพาะขยายพันธุ์
1. ปลาที่จะนำมาเพาะขยายพันธุ์จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุประมาณ 4 เดือนขึ้นไป แต่ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 จะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป โดยความยาวของปลาที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่า 10 ซม.และน้ำหนักไม่น้อยกว่า 150 กรัม
2. เตรียมบ่อเพาะโดยสูบน้ำในบ่อให้แห้ง โรยปูนขาว 60 – 100 กก./ไร่ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วเติมน้ำลงไป 80 – 100 ซม. เติมปุ๋ยคอก 200 กก./ไร่ หรือปุ๋ยเคมี 8 กก./ไร่ ทิ้งไว้ให้น้ำเขียว

68
3. ปล่อยปลาเพศผู้และเมีย อัตรา 1 : 2-5 โดยปล่อย 4 ตารางเมตร ต่อ 3 ตัว
4. เพศผู้จะทำรังโดยขุดหลุดที่บริเวณขอบบ่อ และผสมพันธุ์กับเพศเมีย เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วเพศเมียจะอมไข่ไว้ในปาก โดยเพศเมียจะวางไข่ครั้งละ 500 – 2,000 ฟอง และจะอมไข่นานประมาณ 10 วันโดยไม่กินอาหาร ไข่จะใช้เวลาฟักประมาณ 4 – 6 วัน
5. แม่ปลาจะพักฟื้น 4 – 6 สัปดาห์ ก่อนวางไข่ครั้งต่อไป
6. หลังจากคัดพ่อแม่พันธุ์ลงบ่อ 45 – 60 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ประมาณ 5,000 – 60,000 ตัว/ไร่
7. หากอุณหภูมิน้ำในฤดูหนาวต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือฤดูร้อนสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ปลาจะไม่วางไข่
 การคัดพ่อแม่พันธุ์
1.คัดลักษณะที่ดีโตเร็วกว่าในรุ่นเดียวกัน
2.คัดปลาเพศเมียใช้ประมาณ20%ของจำนวนปลาเพศเมียทั้งหมด
3.คัดปลาตัวผู้มาใช้จำนวนครึ่งหนึ่งของปลาเพศเมีย
565

การเพาะขยายพันธุ์ปลานิลและทับทิมในบ่อซีเมนต์
1. ควรมีพื้นที่ต่อบ่อไม่น้อยกว่า 50 ตารางเมตร กักเก็บน้ำสูงไม่ต่ำกว่า 1 ม. มีท่อ เติมและระบายน้ำที่ดี
2. ควรอยู่กลางแจ้งและมีการคลุมหลังคาบางส่วนประมาณ 30 – 50 % ของบ่อ
3.อัตราการปล่อย3ตัว/ตารางเมตรอัตราส่วนเพศผู้ต่อเมีย1:2
4.เก็บลูกปลาหลังจากปล่อยเพาะ20วัน
5.ผลผลิตที่ได้ประมาณ500–1,000ตัว/ตารางเมตร/เดือน
การเพาะพันธุ์ปลานิลและปลาทับทิมในกระชัง
1.ใช้กระชังอวนมุ้งฟ้าความถี่ของตาอวนไม่ต่ำกว่า18ตา/นิ้ว
2.ความลึกของกระชังไม่ต่ำกว่า1เมตร
3.อัตราการปล่อย3-6ตัว/ตารางเมตร
4.อัตราส่วนเพศผู้ต่อเมีย1:2-3
5. เก็บผลผลิตทุก ๆ 20 วัน ได้ลูกปลา 500 – 1,000 ตัว/ตารางเมตร/เดือน
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาทับทิมให้ได้ผลดี
1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)
2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์แต่มีอัตราการเสี่ยงสูงเพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง60%
3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)
1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้วจะแก้ไขไม่ได้
2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. – 11.00 น. – 13.30 น. – 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่  50-55กรัม)
3.หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)
4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500กรัม
5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)
004.


ที่มาhttps://rattanapornn.wordpress.com/2013/07/02/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A1/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปลาตะเพียนทอง

ปลาหมอบัตเตอร์

ปลาตะเพียนขาว