ปลากระโห้

                                           ปลากระโห้

ปลากระโห้
(Giant Carp)
Catiocarpio siamensis
เป็นปลาตระกูลปลาคาร์พที่ใหญ่ที่สุด มีเกล็ดใหญ่ลำตัวมีสีชมพูปนขาวหรือเทาปนดำครีบมีสีแดง อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าทั่วไป เช่นแถบแม่น้ำเจ้าพระยา แม่นํ้าแม่กลอง แม่นํ้ากํ่า แม่นํ้าน้อย แม่นํ้าป่าสัก แม่นํ้ามูล และแม่นํ้าโขง เป็นต้น พ่อแม่พันธุ์กระโห้สามารถรวบรวมได้ตามธรรมชาติ ด้วยเครื่องมือข่ายในราวเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม บริเวณที่จับได้มากคือ ใต้เขื่อนเจ้าพระยาจังหวัดชัยนาทลงไป 3-5 กิโลเมตรเพราะเป็นแหล่งที่ปลากระโห้ว่ายมาผสมพันธุ์และวางไข่ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตุเห็นได้ง่ายว่าปลากะโห้ตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเรียวกว่าตัวเมียส่วนท้องจะแบนเรียบ มีสีดำคลํ้ากว่าและมีตุ่มขรุขระยื่นออกมาตรงช่องเพศ เมื่อบีบท้องเบาๆ จะมีนํ้าเชื้อไหลออกมา ตัวเมียจะสั้นป้อมกว่าตัวผู้ ตัวที่มีท้องแก่ส่วนท้องจะเป่งและนิ่ม ช่องเพศมีลักษณะรูปไข่บวมนูนมีสีชมพูแดง
ปริมาณการฉีดฮอร์โมน
ใช้ฮอร์โมน 2 ชนิด คือฮอร์โมนสังเคราะห์ซีจี (chorionic gonadrotropin) และฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ในปริมาณดังนี้
ครั้งที่ 1 ต่อม  0.5-0.75 โดส ผสม ซีจี 50-100 หน่วยสากล(IU)
ครั้งที่ 2 ต่อม  1.5-2.0 โดสผสมซีจี 150-250 หน่วยสากล(IU)
ฉีด 2 ครั้งห่างกัน 6-8 ชั่วโมง ตรงปริเวณโคนครีบหู หลังจากฉีดครั้งที่สองแล้ว 6 ชั่วโมงจึงทำการตรวจสอบเชื้อเพื่อรดไข่ เมื่อตัวเมียพร้อมที่จะผสมแล้ว เพียงบีบเบาๆ ไข่จะไหลพุ่งออกมา ใช้วิธีผสมแบบแห้งแล้วเติมน้ำคนให้ทั่วหลังจากนั้นนำไปเพาะในถุงฟักไข่ด้วยอัตราหนาแน่น 10,000-15,000 ฟองต่อถุง (ถุงรูปกรวยเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตรลึก 50 เซนติเมตร)
ไข่ปลากะโห้เป็นชนิดครึ่งจมครึ่งลอย เช่นเดียวกับไข่ปลาตะเพียนและไข่ปลาจีนจะฟักเป็นตัวภายในเวลา 11-13 ชั่วโมง มีความยาว 5-6 มิลลิเมตรถุงไข่แดงจะยุบหมดภายใน 3 วัน จากนั้น 1 เดือน จึงจะเห็นสีแดงตามครีบปรากฎขึ้น
ที่มา:สุภาพร  สุกสีเหลือง


ที่มาhttp://www.xn--72c2azblnq3c2a1h6dtb.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B9%89/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปลาตะเพียนทอง

ปลาหมอบัตเตอร์

ปลาตะเพียนขาว