บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

ปลาโนรี

รูปภาพ
                              ปลาโนรี สวัสดีค่ะ ฉบับนี้พบกันในเรื่องของปลาสวยงามกันบ้างน่ะค่ะ ปลาสวยงามที่จะกล่าวถึงในบทความฉบับนี้ดิฉันเชื่อว่าหลายท่านที่ชอบใช้เวลาว่างหรือเทศกาลช่วงวันหยุดหลายๆวัน เที่ยวทะเล ดำน้ำดูปะการัง ต้องรู้จักและเคยเห็นปลาชนิดนี้แน่นอนค่ะ เพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีสีสันสดใส  ลวดลายสวยงาม ตัวขนาดเท่าฝ่ามือว่ายน้ำวนเวียนไปปลา เห็นแล้วอยากว่ายน้ำตามไม่อยากละสายตาออกจากปลาสวยงามชนิดนี้เลย ปลาสวยงามที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือปลา โนรี มีชื่อวิทยาศาสตร์  Heniochus acuminatus   ชื่อสามัญ Longfin Bannerfish พวกเขาอยู่ในครอบครัวปลาผีเสื้อ Chaetodontidae ปลาโนรีจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาสินสมุทร แต่การแยกชนิดปลาทั้งสองออกจากกันได้ง่ายๆ โดยสังเกตตรงที่ปลาสินสมุทรทุกตัวจะมีเงี่ยงใต้แก้มหรือบริเวณกระบังเหงือก ในขณะที่ปลาโนรีจะไม่มีเงี่ยงดังกล่าว ปลาโนรีที่เราพบเห็นกันบ่อยตามแนวปะการังก็คือ ปลาโนรีครีบยาว (Longfin Bannerfish) ที่มีครีบหลังตั้งยาวโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปลาโนรีครีบยาวนั้นเมื่อว่ายน้ำไปทางไหนก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนโดดเด่น ยิ่งเมื่อรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่นับร้

ปลาเทโพ

รูปภาพ
                             ปลาเทโพ "ปลาเทโพ” เป็นปลาน้ำจืดของไทยที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในครอบ ครัวเดียวกับปลาสวายและปลาบึก ปลาเทโพมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป เช่น คนหนองคายจะเรียกว่า “ปลาหูหมาด” ส่วนคนทางอีสานใต้ เช่น จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด ฯลฯ เรียกว่า “ปลาปึ่ง” ในประเทศไทยพบว่าปลาเทโพอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายต่าง ๆ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล หรือแม้แต่สาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงและยังสามารถพบได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ด้วยปลาเทโพจัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพงและเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ปลาเทโพที่จับได้จากธรรมชาติเหลือน้อยลง ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอุบลราชธานีได้ทำการเพาะพันธุ์ปลา เทโพและมีการส่งเสริมเป็นอาชีพให้กับเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้ได้ นำไปเลี้ยงในบ่อดินและเลี้ยงในกระชัง สร้างรายได้ดีให้กับเกษตรกร ทางศูนย์ฯได้แนะนำในการเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเทโพควรจะมีอายุประมาณ 3 ปี โดยน้ำหนักพ่อ-แม่พันธุ์ในอายุดังกล่าวจะมีน้ำหนักตัวไม

ปลาเก๋า

รูปภาพ
                          ปลาเก๋า ปลาเก๋าหรือปลากะรัง แม้จะเป็นปลาที่สืบพันธุ์และวางไข่ในท้องทะเลลึก แต่ลูกปลาเล็กๆ กลับมาใช้ชีวิตอยู่อาศัยตามบริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่ปลาชนิดนี้ต่างไปจากปลาเลี้ยงชนิดอื่นๆ ตรงที่มันสามารถเปลี่ยนเพศได้ เมื่อปลาอายุได้ 3 ปี มีน้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัมก็จะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ทันที  ดังนั้น การผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมีย อีกอย่างปลาเก๋าจะไม่สามารถอยู่ในน้ำจืด เช่นเดียวกับปลากะพงขาวได้ ดังนั้น สถานที่ใช้เลี้ยงปลาเก๋า จะต้องมีความเค็มตลอดทั้งปี อย่างน้อยต้องมีความเค็มตั้งแต่ 10 ส่วนในพันส่วน(ppt)ขึ้นไป วิธีการเลี้ยงนั้น ไม่ยาก ผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสำคัญสถานที่เลี้ยงหรือฟาร์มเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเลือกผิดความล้มเหลวในการเลี้ยงก็จะมีมาก ไม่ว่าจะเป็นบ่อเลี้ยงหรือกระชังก็ตาม ฉะนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงควรจะอยู่ในบริเวณต่อไปนี้  ข้อ 1 ต้องเป็นบริเวณที่มีกำบังจากคลื่นลม กระแสน้ำ ไต้ฝุ่น น้ำท่วม และตะกอน ข้อ 2 ต

ปลากระบอก

รูปภาพ
                        ปลากระบอก ปลากระบอก เป็นปลาทะเลเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดี มีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภค และสามารถเลี้ยงได้ทั้งนํ้ากร่อยและน้ำจืด ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงปลาในกลุ่มดังกล่าวนี้ในบ่อน้ำกร่อยได้ผลผลิตประมาณ 370-900 ตัน/ปี (ชวสิต วิทยานนท์ และทศพร วงศ์รัตน์ 2531) ปลากระบอกที่นิยมเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ ปลากระบอกท่อนใต้ (Mugil cephalus) และปลากระบอกดำ (Liza parsia) ซึ่งเดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Mugil dussumieri C&V ปลากระบอกทั้งสองชนิดนี้สามารถเพาะขึ้นได้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนให้วางไข่แล้วทำการผสมเทียม สำหรับประเทศไทยสามารถเพาะปลากระบอกดำได้ที่สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ส่วนปลากระบอกท่อนใต้กำลังศึกษาค้นคว้าการเพาะปลาชนิดนี้อยู่ที่สถานประมงน้ำกร่อย คลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การเลี้ยง ประเทศอิสราเอลนิยมเลี้ยงปลากระบอกท่อนใต้ร่วมกับการเลี้ยงปลานิล ส่วนประเทศอื่นๆ มักนิยมเลี้ยงในบ่อน้ำกร่อย มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่จะนำปลากระบอกทั้งสองชนิดนี้ไปเลี้ยงในพื้นที่ดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นหรือปล่อยในอ่างเก็บ

ปลากระดี่นาง

รูปภาพ
                 การเลี้ยงปลากระดี่นาง สวัสดีค่ะเพื่อนๆ บล็อก นานาสาระเกษตรทุกท่าน วันนี้เราจะนำเอาการเลี้ยงปลาน้ำจีดที่หาได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง แหล่งน้ำธรรมชาติของบ้านเรามาฝากค่ะ เราสามารถนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาเศรษฐกิจได้เลยทีเดียวถึงแม้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเรามองหาเพื่อที่จะเป็นอาชีพเสริมก็เป็นที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวค่ะเพราะเลี้ยงง่าย และเป็นปลาที่อดทนพอสมควรค่ะ ลักษณะทั่วไปของปลากระดี่นาง   ปลากระดี่นางเป็นปลาน้ำจืดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับปลาสลิด กระดี่หม้อ กระดี่มุก และอยู่ในวงศ์เดียวกับปลาหมอไทย กระดี่นางมีสีขาวนวล ไม่มีจุดดำ ลำตัวบาง เกล็ดบาง เกล็ดเล็กละเอียด ขอบเกล็ดเป็นจักรเช่นเดียวกับเกล็ดปลาหมอ มีเส้นก้านครีบเป็นรยางค์ยาวอยู่ใต้ท้อง 1 คู่ ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่นางมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษ เช่นเดียวกัน ในสภาพที่น้ำไม่ดีนัก กระดี่นางก็จะโผล่ริมฝีปากขึ้นมาฮุบเอาอากาศหายใจได้ อาหารเป็นพวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ตัวอ่อนของแมลง ไรแดง ปลาเพศผู้มีสีแสดบริเวณท้อง กล่าวกันว่า ปลากระดี่ใช้รยางค์คู่นี้เป็นเครื่องรับความรู้สึก มีนิสัยสงบ เลี้ยง

ปลาหมอบัตเตอร์

รูปภาพ
               ปลาหมอบัตเตอร์ ปลาหมอบัตเตอร์   ( อังกฤษ :  Zebra tilapia, Zebra cichlid ;   ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Heterotilapia buttikoferi )   ปลาน้ำจืด ชนิด หนึ่ง ใน วงศ์ปลาหมอสี   (Cichlidae) มีรูปร่างคล้าย ปลานิล  ( Oreochromis niloticus ) หรือ ปลาทิลอาเพีย ชนิดอื่น ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันในสกุล  Tilapia  มาก่อน ซึ่งปัจจุบันเป็น ชื่อพ้อง [2] จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัวสีเหลืองหรือขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40  เซนติเมตร  โดยลายจะจางลงไปเมื่อปลาโตเต็มที่ มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก  และพบมากที่สุดที่ ประเทศไลบีเรีย   มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว  [3] สำหรับใน ประเทศไทย  ปลาหมอบัตเตอร์นับว่าเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีผู้เลี้ยงแล้วนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย จนกลายเป็น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ชนิดหนึ่งไปแล้ว เช่นเดียวกับปลานิล ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%

ปลาพลวงชมพู

รูปภาพ
                  ปลาพลวงชมพู    วันที่ 19 สิงหาคม  2560 เยาวชนโรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ในโครงการพัฒนาเยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 16 คน ได้ลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับปลากือเลาะห์ หรือปลาพลวงชมพูที่ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดยะลา ได้มีคุณ อิรฟาน มาปะ เป็นวิทยากรในการอธิบายเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาพลวงชมพูพร้อมได้พาเยาวชนเดินดู บ่อที่เลี้ยง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา ซึ่งได้ข้อมูลดังนี้   ในปี พ.ศ. 2534 ได้นำปลาเข้ามาเพาะเลี้ยงในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา ในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์วิจัยสามารถเพาะเลี้ยงปลาพลวงชมพูได้สำเร็จ ในวันที่ 3 กันยายน 2543 ได้ทำการปล่อยปลาพลวงชมพูลงสู่เขื่อนบางลาง โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ในปี พ.ศ. 2556  ได้ประกาศให้ปลาพลวงชมพูเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา ในวันที่ 2 เมษายน 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ปล่อยปลาพลวงชมพูลงสู่เขื่อนบางลาง จำนวน 63 ตัวซึ่งเท่ากับ พระชนพรรษา ของพระองค์  ผ่านวิธีการออนไลน์ ปลาพลวงชมพูจะอา

ปลาเสือพ่นน้ำ

รูปภาพ
                        ปลาเสือพ่นน้ำ เสือพ่นน้ำ (เทคโนโลยีชาวบ้าน) คอลัมน์ ปลาสวยงาม โดย พิชิต ไทยยืนวงษ์              ปลาเสือพ่นน้ำ   เป็นปลาเก่าแก่คู่สายน้ำเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ในวรรณคดีหลายเรื่องตลอดจนจดหมายเหตุต่างๆ ในอดีตก็มีกล่าวถึงปลาชนิดนี้ไว้ในแง่ของการชื่นชมความสวยงามกับอุปนิสัยที่น่ารักของมัน ปลาเสือพ่นน้ำมีรูปร่างแบนข้าง ส่วนหัวเล็ก มีจะงอยปากยื่นแหลม ครีบทุกครีบสั้น โดยเฉพาะครีบหาง ส่วนครีบกระโดงแบ่งออกเป็นสองส่วนเชื่อมติดกัน คือส่วนที่เป็นก้านครีบแข็ง ซึ่งจะตั้งเป็นหนามแหลมกับส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อน ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาหากินผิวน้ำ ลักษณะลำตัวจากปลายปากกับแนวสันหลังจึงเกือบเป็นเส้นตรง ปากกว้างเฉียงลงและดวงตากลมโต สายตานั้นดีมาก สามารถมองเห็นแมลงที่เกาะซ่อนตัวอยู่ตามริมตลิ่งหรือกิ่งไม้ได้อย่างง่ายดาย            ปลาเสือพ่นน้ำมีหลายชนิดพันธุ์ บางชนิดอาศัยในแหล่งน้ำจืดสนิท บางชนิดอยู่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อย และบางชนิดก็อาศัยอยู่ในทะเลเป็นปลาน้ำเค็มไปโดยสมบูรณ์แบบ ชนิดหลังนี้จึงมีความใหญ่โตมากกว่าชนิดอื่น เคยมีผู้พบเห็นปลาเสือพ่นน้ำที่มีความยาวเกือบ 4

ปลาแรด

รูปภาพ
                      ปลาแรด ปลาแรด   (Gaint goramy) เป็นปลาน้ำจืดที่นิยมรับประทาน เนื่องจาก ลำตัวมีขนาดใหญ่ เนื้อมาก เลี้ยงง่าย กินอาหารได้ทุกชนิด มีความต้องการทางตลาดสูง โดยเฉพาะตามร้านอาหารทั่วไป นอกจากนั้น บางรายยังนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย อนุกรมวิธาน • Phylum : Chordata • Class : Osteichthyes • Order : Perciformes • Family : Anabantidae • Genus : Osphronemus • Species : Goramy • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osphronemus goramy Lacepede • ชื่อสามัญ : Gaint goramy • ชื่อท้องถิ่น : ภาคกลาง และทั่วไป – ปลาแรด ภาคใต้ – ปลามิน ภาคอีสาน – ปลาเม่น • ต่างประเทศ – อินโดนีเซีย เรียก Gurami หรือ Guremeh – อินเดีย เรียก Sangara – เวียดนาม เรียก Ca Tai Tuong – มาเลเซีย เรียก Kalu – กัมพูชา เรียก Trey remeas ถิ่นกำเนิด และการแพร่กระจาย ปลาแรดมีถิ่นกำเนิดในเอเชีย บริเวณเกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว ซึ่งมีการขุดพบหลักฐานซากฟอสซิลของปลาแรดชนิด O. goramy บนเกาะสุมาตรา ทำให้ยืนยันได้ว่าบริเวณหมู่เกาะแถบนี้เป็นต้นกำเนิดของปลาแรด ปัจจุบัน พบแพร่กระจายอยู่ตามแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทั่วไปในปร