บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

ปลาฝา หรือ ตะพาบน้ำ

รูปภาพ
                ปลาฝา หรือ ตะพาบน้ำ หากใครได้เดินทางผ่านหรือเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรีในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เมื่อขับรถพ้นจากอำเภอศรีประจันต์เข้าสู่อำเภอสามชุก มองสองข้างทางหลวง หมายเลข 340 มีร้านค้าเล็กๆ ตั้งขายเนื้อตะพาบน้ำสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ หลายๆ ท่านอาจสงสัยว่าเนื้อตะพาบน้ำคนขายหามาจากที่ไหน ซึ่งสมัยนี้มีการเลี้ยงกันมากขึ้นเพื่อไม่รบกวนกับตะพาบน้ำที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ  คุณปัทมา คงสำราญ  อยู่บ้านเลขที่ 138/3 หมู่ที่ 3 ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เลี้ยงตะพาบน้ำเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดี ทำนา ทำสวน เปลี่ยนมาเลี้ยงตะพาบ สร้างรายได้ คุณปัทมา เล่าให้ฟังว่า เดิมทีทำไร่ทำสวนและได้นำผลผลิตขายตามตลาดเช้า จึงทำให้ได้รู้จักกับเกษตรกรรายหนึ่งซึ่งได้เลี้ยงตะพาบน้ำมาก่อน ทำให้คุณพ่อและคุณแม่ของคุณปัทมา เกิดความสนใจในการเลี้ยงตะพาบน้ำ จึงได้ไปศึกษากับเกษตรกรรายดังกล่าวที่มาแนะนำ ซึ่งตะพาบน้ำที่นำมาเลี้ยงเป็นตะพาบพันธุ์ไต้หวัน เหตุที่ไม่สามารถนำตะพาบน้ำพันธุ์ไทยมาเลี้ยงได้ เนื่องจากตะพาบน้ำพันธุ์ไทย ยังถือว่าเป็นพันธุ์สัตว์น้ำท

ปลากะพงดำ

รูปภาพ
              ปลากะพงดำ                     ปลากะพงดำ  ( อังกฤษ :  Tripletail, Atlantic tripletail )  ปลากระดูกแข็ง ชนิด หนึ่ง ใน อันดับปลากะพง  มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า  Lobotes surinamensis  อยู่ใน วงศ์ปลากะพงดำ  (Lobotidae) มีลักษณะลำตัวแบนค่อนข้างลึก ความยาวหัวจะสั้นกว่าความลึกลำตัว ปากกว้างเฉียงขึ้น มุมปากจะอยู่แนวเดียวกับปุ่มกลางนัยน์ตา ครีบหลังจะเป็นก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่ปลายแหลมประมาณ 11-13 ก้าน และก้านครีบแขนง 13-16 ก้าน ส่วนครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางขนาดใกล้เคียงกันดูเหมือนจะมีครีบหาง 3 ครีบ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกใน ภาษาอังกฤษ  ขนาดค่อนข้างใหญ่สีน้ำตาลเข้มทั้งตัวหรือสีเหลืองอมเขียวมะกอก มีความยาวเต็มที่ได้ 110  เซนติเมตร  พบกระจายพันธุ์บริเวณ น้ำกร่อย ตาม ปากแม่น้ำ  พบได้ตั้งแต่ มหาสมุทรแอตแลนติก ,  มหาสมุทรอินเดีย  และแถบ อินโด-แปซิฟิก  ใน มหาสมุทรแปซิฟิก  มีพฤติกรรมอำพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อล่าเหยื่อและอำพรางสัตว์ผู้ล่าที่ใหญ่กว่า โดยปรับเปลี่ยน สี ได้ ปกติมักจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ กับที่โดยทิ่มส่วนหัวลง กิน สัตว์น้ำ ขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ลูกปลาวัยอ่อนมัก

ปลาซ่อนอเมซอน

รูปภาพ
                     ปลาซ่อนอเมซอน ปลาอะราไพม่าหรือปลาช่อนอะเมซอน (สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง) เรียบเรียงโดย สุจิตรา จันทร์เมือง             ปลาอะราไพม่าหรือ พิรารูดู Pirarucu (ชื่อพื้นเมืองของชาวบราซิล) และ PAICHE (ชื่อพื้นเมืองของชาวเปรู) ส่วนคนไทยรู้จักกันในนาม "ปลาช่อนอเมซอน"  จัดเป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ปลามังกร หรือ ปลาอะโรวาน่า คือ Family Osteoglossidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arapaima gigas            ปลาช่อนอเมซอน จัดเป็นยักษ์ใหญ่ของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำของโลกและสำหรับนักเลี้ยงปลาทุกคน มันถูกจัดเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตได้เร็วมาก มีความยาวได้ถึง 4 เมตร มีน้ำหนักถึง 400 กิโลกรัม ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาเนื้อดีกินอร่อยของชาวบ้านในประเทศ บราซิล เปรู และโคลัมเบีย             ทั้งนี้ ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาที่มีแรงเยอะ ว่ายน้ำและกระโดดเก่งมาก รอบตัวของมันปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวเหลือบขนาดใหญ่ ท้องเป็นสีขาว โคนหางมีเกล็ดสีแดงกระจัดกระจายอยู่ทั่ว คนไทยส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า "กุหลาบแดง"            ในอเมริกาใต้ ปลาช่อนอเมซอน

ปลาโนรี

รูปภาพ
                              ปลาโนรี สวัสดีค่ะ ฉบับนี้พบกันในเรื่องของปลาสวยงามกันบ้างน่ะค่ะ ปลาสวยงามที่จะกล่าวถึงในบทความฉบับนี้ดิฉันเชื่อว่าหลายท่านที่ชอบใช้เวลาว่างหรือเทศกาลช่วงวันหยุดหลายๆวัน เที่ยวทะเล ดำน้ำดูปะการัง ต้องรู้จักและเคยเห็นปลาชนิดนี้แน่นอนค่ะ เพราะปลาชนิดนี้เป็นปลาที่มีสีสันสดใส  ลวดลายสวยงาม ตัวขนาดเท่าฝ่ามือว่ายน้ำวนเวียนไปปลา เห็นแล้วอยากว่ายน้ำตามไม่อยากละสายตาออกจากปลาสวยงามชนิดนี้เลย ปลาสวยงามที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้คือปลา โนรี มีชื่อวิทยาศาสตร์  Heniochus acuminatus   ชื่อสามัญ Longfin Bannerfish พวกเขาอยู่ในครอบครัวปลาผีเสื้อ Chaetodontidae ปลาโนรีจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาสินสมุทร แต่การแยกชนิดปลาทั้งสองออกจากกันได้ง่ายๆ โดยสังเกตตรงที่ปลาสินสมุทรทุกตัวจะมีเงี่ยงใต้แก้มหรือบริเวณกระบังเหงือก ในขณะที่ปลาโนรีจะไม่มีเงี่ยงดังกล่าว ปลาโนรีที่เราพบเห็นกันบ่อยตามแนวปะการังก็คือ ปลาโนรีครีบยาว (Longfin Bannerfish) ที่มีครีบหลังตั้งยาวโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ปลาโนรีครีบยาวนั้นเมื่อว่ายน้ำไปทางไหนก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนโดดเด่น ยิ่งเมื่อรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่นับร้

ปลาเทโพ

รูปภาพ
                             ปลาเทโพ "ปลาเทโพ” เป็นปลาน้ำจืดของไทยที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในครอบ ครัวเดียวกับปลาสวายและปลาบึก ปลาเทโพมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นแตกต่างกันออกไป เช่น คนหนองคายจะเรียกว่า “ปลาหูหมาด” ส่วนคนทางอีสานใต้ เช่น จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด ฯลฯ เรียกว่า “ปลาปึ่ง” ในประเทศไทยพบว่าปลาเทโพอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายต่าง ๆ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล หรือแม้แต่สาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงและยังสามารถพบได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เช่น อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ด้วยปลาเทโพจัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพงและเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ปลาเทโพที่จับได้จากธรรมชาติเหลือน้อยลง ปัจจุบันทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดอุบลราชธานีได้ทำการเพาะพันธุ์ปลา เทโพและมีการส่งเสริมเป็นอาชีพให้กับเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้ได้ นำไปเลี้ยงในบ่อดินและเลี้ยงในกระชัง สร้างรายได้ดีให้กับเกษตรกร ทางศูนย์ฯได้แนะนำในการเตรียมพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเทโพควรจะมีอายุประมาณ 3 ปี โดยน้ำหนักพ่อ-แม่พันธุ์ในอายุดังกล่าวจะมีน้ำหนักตัวไม

ปลาเก๋า

รูปภาพ
                          ปลาเก๋า ปลาเก๋าหรือปลากะรัง แม้จะเป็นปลาที่สืบพันธุ์และวางไข่ในท้องทะเลลึก แต่ลูกปลาเล็กๆ กลับมาใช้ชีวิตอยู่อาศัยตามบริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำเป็นส่วนใหญ่ แต่สิ่งที่ปลาชนิดนี้ต่างไปจากปลาเลี้ยงชนิดอื่นๆ ตรงที่มันสามารถเปลี่ยนเพศได้ เมื่อปลาอายุได้ 3 ปี มีน้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัมก็จะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม ก็จะเปลี่ยนเป็นเพศผู้ทันที  ดังนั้น การผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติจะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กับปลาเพศเมีย อีกอย่างปลาเก๋าจะไม่สามารถอยู่ในน้ำจืด เช่นเดียวกับปลากะพงขาวได้ ดังนั้น สถานที่ใช้เลี้ยงปลาเก๋า จะต้องมีความเค็มตลอดทั้งปี อย่างน้อยต้องมีความเค็มตั้งแต่ 10 ส่วนในพันส่วน(ppt)ขึ้นไป วิธีการเลี้ยงนั้น ไม่ยาก ผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสำคัญสถานที่เลี้ยงหรือฟาร์มเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเลือกผิดความล้มเหลวในการเลี้ยงก็จะมีมาก ไม่ว่าจะเป็นบ่อเลี้ยงหรือกระชังก็ตาม ฉะนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงควรจะอยู่ในบริเวณต่อไปนี้  ข้อ 1 ต้องเป็นบริเวณที่มีกำบังจากคลื่นลม กระแสน้ำ ไต้ฝุ่น น้ำท่วม และตะกอน ข้อ 2 ต

ปลากระบอก

รูปภาพ
                        ปลากระบอก ปลากระบอก เป็นปลาทะเลเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดี มีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภค และสามารถเลี้ยงได้ทั้งนํ้ากร่อยและน้ำจืด ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงปลาในกลุ่มดังกล่าวนี้ในบ่อน้ำกร่อยได้ผลผลิตประมาณ 370-900 ตัน/ปี (ชวสิต วิทยานนท์ และทศพร วงศ์รัตน์ 2531) ปลากระบอกที่นิยมเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ ปลากระบอกท่อนใต้ (Mugil cephalus) และปลากระบอกดำ (Liza parsia) ซึ่งเดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Mugil dussumieri C&V ปลากระบอกทั้งสองชนิดนี้สามารถเพาะขึ้นได้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนให้วางไข่แล้วทำการผสมเทียม สำหรับประเทศไทยสามารถเพาะปลากระบอกดำได้ที่สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ส่วนปลากระบอกท่อนใต้กำลังศึกษาค้นคว้าการเพาะปลาชนิดนี้อยู่ที่สถานประมงน้ำกร่อย คลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การเลี้ยง ประเทศอิสราเอลนิยมเลี้ยงปลากระบอกท่อนใต้ร่วมกับการเลี้ยงปลานิล ส่วนประเทศอื่นๆ มักนิยมเลี้ยงในบ่อน้ำกร่อย มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่จะนำปลากระบอกทั้งสองชนิดนี้ไปเลี้ยงในพื้นที่ดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นหรือปล่อยในอ่างเก็บ

ปลากระดี่นาง

รูปภาพ
                 การเลี้ยงปลากระดี่นาง สวัสดีค่ะเพื่อนๆ บล็อก นานาสาระเกษตรทุกท่าน วันนี้เราจะนำเอาการเลี้ยงปลาน้ำจีดที่หาได้ตามห้วย หนอง คลอง บึง แหล่งน้ำธรรมชาติของบ้านเรามาฝากค่ะ เราสามารถนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาเศรษฐกิจได้เลยทีเดียวถึงแม้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเรามองหาเพื่อที่จะเป็นอาชีพเสริมก็เป็นที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวค่ะเพราะเลี้ยงง่าย และเป็นปลาที่อดทนพอสมควรค่ะ ลักษณะทั่วไปของปลากระดี่นาง   ปลากระดี่นางเป็นปลาน้ำจืดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับปลาสลิด กระดี่หม้อ กระดี่มุก และอยู่ในวงศ์เดียวกับปลาหมอไทย กระดี่นางมีสีขาวนวล ไม่มีจุดดำ ลำตัวบาง เกล็ดบาง เกล็ดเล็กละเอียด ขอบเกล็ดเป็นจักรเช่นเดียวกับเกล็ดปลาหมอ มีเส้นก้านครีบเป็นรยางค์ยาวอยู่ใต้ท้อง 1 คู่ ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปลากระดี่นางมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษ เช่นเดียวกัน ในสภาพที่น้ำไม่ดีนัก กระดี่นางก็จะโผล่ริมฝีปากขึ้นมาฮุบเอาอากาศหายใจได้ อาหารเป็นพวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ตัวอ่อนของแมลง ไรแดง ปลาเพศผู้มีสีแสดบริเวณท้อง กล่าวกันว่า ปลากระดี่ใช้รยางค์คู่นี้เป็นเครื่องรับความรู้สึก มีนิสัยสงบ เลี้ยง

ปลาหมอบัตเตอร์

รูปภาพ
               ปลาหมอบัตเตอร์ ปลาหมอบัตเตอร์   ( อังกฤษ :  Zebra tilapia, Zebra cichlid ;   ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Heterotilapia buttikoferi )   ปลาน้ำจืด ชนิด หนึ่ง ใน วงศ์ปลาหมอสี   (Cichlidae) มีรูปร่างคล้าย ปลานิล  ( Oreochromis niloticus ) หรือ ปลาทิลอาเพีย ชนิดอื่น ซึ่งเคยอยู่ร่วมกันในสกุล  Tilapia  มาก่อน ซึ่งปัจจุบันเป็น ชื่อพ้อง [2] จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีสีสันลวดลายสวยงาม ลำตัวเป็นเส้นขีดสีคล้ำพาดขวางตลอดทั้งตัวสีเหลืองหรือขาว สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามอารมณ์และสภาวะแวดล้อม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40  เซนติเมตร  โดยลายจะจางลงไปเมื่อปลาโตเต็มที่ มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปแอฟริกาแถบตะวันตก  และพบมากที่สุดที่ ประเทศไลบีเรีย   มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้าย ก้าวร้าว  [3] สำหรับใน ประเทศไทย  ปลาหมอบัตเตอร์นับว่าเป็นปลาหมอสีที่มีราคาถูก จึงมีผู้เลี้ยงแล้วนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย จนกลายเป็น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ชนิดหนึ่งไปแล้ว เช่นเดียวกับปลานิล ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%

ปลาพลวงชมพู

รูปภาพ
                  ปลาพลวงชมพู    วันที่ 19 สิงหาคม  2560 เยาวชนโรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ในโครงการพัฒนาเยาวชนต้นแบบเติมความหวังสู่สังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 16 คน ได้ลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับปลากือเลาะห์ หรือปลาพลวงชมพูที่ศูนย์วิจัยประมงน้ำจืดยะลา ได้มีคุณ อิรฟาน มาปะ เป็นวิทยากรในการอธิบายเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาพลวงชมพูพร้อมได้พาเยาวชนเดินดู บ่อที่เลี้ยง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา ซึ่งได้ข้อมูลดังนี้   ในปี พ.ศ. 2534 ได้นำปลาเข้ามาเพาะเลี้ยงในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยะลา ในปี พ.ศ. 2543 ศูนย์วิจัยสามารถเพาะเลี้ยงปลาพลวงชมพูได้สำเร็จ ในวันที่ 3 กันยายน 2543 ได้ทำการปล่อยปลาพลวงชมพูลงสู่เขื่อนบางลาง โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ในปี พ.ศ. 2556  ได้ประกาศให้ปลาพลวงชมพูเป็นปลาประจำจังหวัดยะลา ในวันที่ 2 เมษายน 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ปล่อยปลาพลวงชมพูลงสู่เขื่อนบางลาง จำนวน 63 ตัวซึ่งเท่ากับ พระชนพรรษา ของพระองค์  ผ่านวิธีการออนไลน์ ปลาพลวงชมพูจะอา