บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2018

ปลาฝา หรือ ตะพาบน้ำ

รูปภาพ
                ปลาฝา หรือ ตะพาบน้ำ หากใครได้เดินทางผ่านหรือเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรีในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เมื่อขับรถพ้นจากอำเภอศรีประจันต์เข้าสู่อำเภอสามชุก มองสองข้างทางหลวง หมายเลข 340 มีร้านค้าเล็กๆ ตั้งขายเนื้อตะพาบน้ำสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ หลายๆ ท่านอาจสงสัยว่าเนื้อตะพาบน้ำคนขายหามาจากที่ไหน ซึ่งสมัยนี้มีการเลี้ยงกันมากขึ้นเพื่อไม่รบกวนกับตะพาบน้ำที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ  คุณปัทมา คงสำราญ  อยู่บ้านเลขที่ 138/3 หมู่ที่ 3 ตำบลวังลึก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เลี้ยงตะพาบน้ำเป็นอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดี ทำนา ทำสวน เปลี่ยนมาเลี้ยงตะพาบ สร้างรายได้ คุณปัทมา เล่าให้ฟังว่า เดิมทีทำไร่ทำสวนและได้นำผลผลิตขายตามตลาดเช้า จึงทำให้ได้รู้จักกับเกษตรกรรายหนึ่งซึ่งได้เลี้ยงตะพาบน้ำมาก่อน ทำให้คุณพ่อและคุณแม่ของคุณปัทมา เกิดความสนใจในการเลี้ยงตะพาบน้ำ จึงได้ไปศึกษากับเกษตรกรรายดังกล่าวที่มาแนะนำ ซึ่งตะพาบน้ำที่นำมาเลี้ยงเป็นตะพาบพันธุ์ไต้หวัน เหตุที่ไม่สามารถนำตะพาบน้ำพันธุ์ไทยมาเลี้ยงได้ เนื่องจากตะพาบน้ำพันธุ์ไทย ยังถือว่าเป็นพันธุ์สัตว์น้ำท

ปลากะพงดำ

รูปภาพ
              ปลากะพงดำ                     ปลากะพงดำ  ( อังกฤษ :  Tripletail, Atlantic tripletail )  ปลากระดูกแข็ง ชนิด หนึ่ง ใน อันดับปลากะพง  มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า  Lobotes surinamensis  อยู่ใน วงศ์ปลากะพงดำ  (Lobotidae) มีลักษณะลำตัวแบนค่อนข้างลึก ความยาวหัวจะสั้นกว่าความลึกลำตัว ปากกว้างเฉียงขึ้น มุมปากจะอยู่แนวเดียวกับปุ่มกลางนัยน์ตา ครีบหลังจะเป็นก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่ปลายแหลมประมาณ 11-13 ก้าน และก้านครีบแขนง 13-16 ก้าน ส่วนครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางขนาดใกล้เคียงกันดูเหมือนจะมีครีบหาง 3 ครีบ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกใน ภาษาอังกฤษ  ขนาดค่อนข้างใหญ่สีน้ำตาลเข้มทั้งตัวหรือสีเหลืองอมเขียวมะกอก มีความยาวเต็มที่ได้ 110  เซนติเมตร  พบกระจายพันธุ์บริเวณ น้ำกร่อย ตาม ปากแม่น้ำ  พบได้ตั้งแต่ มหาสมุทรแอตแลนติก ,  มหาสมุทรอินเดีย  และแถบ อินโด-แปซิฟิก  ใน มหาสมุทรแปซิฟิก  มีพฤติกรรมอำพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อล่าเหยื่อและอำพรางสัตว์ผู้ล่าที่ใหญ่กว่า โดยปรับเปลี่ยน สี ได้ ปกติมักจะลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ กับที่โดยทิ่มส่วนหัวลง กิน สัตว์น้ำ ขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ลูกปลาวัยอ่อนมัก

ปลาซ่อนอเมซอน

รูปภาพ
                     ปลาซ่อนอเมซอน ปลาอะราไพม่าหรือปลาช่อนอะเมซอน (สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง) เรียบเรียงโดย สุจิตรา จันทร์เมือง             ปลาอะราไพม่าหรือ พิรารูดู Pirarucu (ชื่อพื้นเมืองของชาวบราซิล) และ PAICHE (ชื่อพื้นเมืองของชาวเปรู) ส่วนคนไทยรู้จักกันในนาม "ปลาช่อนอเมซอน"  จัดเป็นปลาที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ปลามังกร หรือ ปลาอะโรวาน่า คือ Family Osteoglossidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arapaima gigas            ปลาช่อนอเมซอน จัดเป็นยักษ์ใหญ่ของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำของโลกและสำหรับนักเลี้ยงปลาทุกคน มันถูกจัดเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง เจริญเติบโตได้เร็วมาก มีความยาวได้ถึง 4 เมตร มีน้ำหนักถึง 400 กิโลกรัม ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาเนื้อดีกินอร่อยของชาวบ้านในประเทศ บราซิล เปรู และโคลัมเบีย             ทั้งนี้ ปลาช่อนอเมซอน เป็นปลาที่มีแรงเยอะ ว่ายน้ำและกระโดดเก่งมาก รอบตัวของมันปกคลุมด้วยเกล็ดสีเขียวเหลือบขนาดใหญ่ ท้องเป็นสีขาว โคนหางมีเกล็ดสีแดงกระจัดกระจายอยู่ทั่ว คนไทยส่วนใหญ่นิยมเรียกกันว่า "กุหลาบแดง"            ในอเมริกาใต้ ปลาช่อนอเมซอน